บุญกฐิน

บุญกฐิน

                        คำว่า “กฐิน” แปลตามศัพท์ว่ากรอบไม้สำหรับขึงผ้าเย็บจีวรของพระภิกษุ กรอบไม้ชนิดนี้ไทยเราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สะดึง” การเย็บจีวรต้องตัดผ้าออกเป็นชิ้น ๆ แล้วเอามาเย็บประสานกันเข้า ให้มีรูปเหมือนเนื้อที่ในนาปลูกข้าว ในการเย็บประสานเช่นนั้น ในครั้งกระโน้นเมื่อช่างเย็บยังไม่ชำนาญพอ และไม่มีเครื่องจักรจะใช้ได้อย่างเวลานี้ ก็ต้องขึงผ้าลงบนกรอบไม้ก่อนแล้วจึงเย็บ กรอบไม้หรือสะดึงนี้ คำบาลีเรียกว่า “กฐิน”
                        การที่ผู้มีศรัทธาเอาผ้าไปถวายพระภิกษุในภายหลังวันออกพรรษา ซึ่งเรียกกันว่า “ทอดกฐิน” นั้น ตามหลักการ พระภิกษุจะต้องเอาผ้านั้นมาตัดเย็บย้อมให้เสร็จภายในวันเดียวกัน การที่ต้องเย็บย้อมจีวรผืนใหญ่ให้เสร็จในวันเดียวนั้น เป็นงานหนักมาก และในครั้งกระโน้นเป็นการจำเป็นที่สุด ที่ต้องใช้ไม้สะดึงขึงผ้าในเวลาเย็บ ฉะนั้นพิธีการถวายผ้าอย่างนี้จึงเรียกว่า “กฐิน”

พิธีการของกฐินมี ๒ ขั้น
                        ขั้นที่ ๑ ผู้มีศรัทธานำเอาผ้าไปถวายพระภิกษุ ในระหว่างวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ คือภายหลังวันออกพรรษา จนถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒ เรียกว่า “ทอดกฐิน”
                        ขั้นที่ ๒ ในวันเดียวกันนั้น พระภิกษุนำเอาผ้า ซึ่งมีผู้ถวายนั้นไปตัดเป็นจีวร หรือเครื่องนุ่งห่มอย่างใดอย่างหนึ่ง เย็บย้อมให้เสร็จภายในวันเดียว แล้วทำพิธีอนุโมทนาเรียกว่า “กรานกฐิน”
                        ในการทอด “กฐิน” นั้น ผู้หนึ่งผู้ใดจะทอดในวัดใด ตามธรรมดาต้องบอกกล่าวให้พระภิกษุในวัดนั้นทราบล่วงหน้าเพื่อมิให้คนอื่นมาทอดซ้ำ พิธีบอกล่วงหน้าเช่นนี้ เรียกว่า “จองกฐิน” ถ้าไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า ไปทอดเฉยๆ เรียก “กฐินจร” หรือ “กฐินโจร”

การทอดกฐินมี ๒ อย่าง คือ

                        ๑.การทำอย่างง่าย คือเอาผ้าที่สำเร็จแล้วไปถวายพระ อย่างที่ทำกันอยู่ในบัดนี้ เรียกว่า “มหากฐิน”
                        ๒. การทำอย่างยาก คือเก็บฝ้ายมา ปั่น กรอ สาง ทำเป็นเส้นด้าย ทอเป็นผ้า ตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จภายในวันเดียว เรียกว่า “จุลกฐิน”
                        พิธีทอดกฐิน ตามหลักการให้ถวายผ้าแก่ภิกษุรูปเดียว ฉะนั้นเมื่อเวลาเอาไปถวายภิกษุรูปหนึ่งต้องเสนอนามภิกษุผู้ใหญ่ ที่คณะสงฆ์จะเลือกให้เป็นผู้รับผ้านั้นเพื่อทำพิธีกรานกฐินต่อไป การเสนอนามเช่นนี้เรียกว่า “อปโลกนกรรม”
                        เมื่อเสนอนามแล้ว และไม่มีผู้คัดค้าน พระภิกษุสงฆ์ ๒ รูป ต้องมาสวดประกาศออกนามภิกษุที่จะให้เป็นผู้รับ เพื่อเสนอขออนุมัติที่ประชุมสงฆ์ให้เป็นผู้รับ และกรานกฐิน พิธีสวดประกาศเช่นนี้เรียกว่า “ญัตติกรรม” คือการเสนอญัตติให้พิจารณาเป็นวาระที่ ๑
                        เมื่อได้เสนอญัตติให้พิจารณาเป็นวาระที่ ๑ แล้ว ไม่มีผู้คัดค้าน พระภิกษุ ๒ รูป ก็สวดประกาศซ้ำ มีข้อความคล้ายคลึงกันกับที่สวดในวาระแรก การสวดประกาศซ้ำนี้เรียกว่า “ญัตติทุติยกรรม” คือ เสนอญัตติให้พิจารณาเป็นวาระที่ ๒ และเมื่อไม่มีผู้ใดคัดค้านก็เป็นอันให้พระภิกษุรูปที่ได้รับเสนอนามนั้นเป็นผู้รับผ้าไป และพิธีทอดกฐินก็หมดลงเพียงนั้น ต่อไปเป็นพิธีกรานกฐิน
                        พิธีกรานกฐิน เป็น “สังฆกรรม” คือเป็นกิจของสงฆ์โดยเฉพาะ คฤหัสถ์ไม่เกี่ยวข้อง พิธีกรานกฐินต้องทำอย่างไร จะกล่าวโดยพิสดารต่อไปข้างหน้า
                        เมื่อได้ทำพิธีกรานกฐินโดยถูกต้องแล้ว ก็ถือว่าเป็นความดีความชอบอันหนึ่งในทางศาสนา และเป็นความดีความชอบของพระสงฆ์เอง (เหตุไรจึงถือเป็นความดีความชอบจะได้อธิบายภายหลัง) เพื่อตอบแทนความดีความชอบอันนี้ พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงบัญญัติว่า พระสงฆ์หมู่ใดได้กรานกฐินแล้ว ทำผิดวินัยบางข้อไม่มีโทษ การที่พระภิกษุสงฆ์ได้รับความยกเว้นพิเศษในทางวินัย เพราะเหตุที่ได้กรานกฐินแล้วเช่นนี้ เรียกว่า “อานิสงส์กฐิน”
                        อานิสงส์กฐิน คือการที่ได้รับยกเว้นความผิดวินัยบางข้อดังกล่าวมาข้างต้นนั้น มีกำหนดให้เพียง ๔ เดือน พัน ๔ เดือนไปแล้วก็หมดเขตอานิสงส์ คือไม่ได้รับความยกเว้นต่อไปอีก
                        แต่ภายในเวลา ๔ เดือนนั้นอาจมีเหตุบางอย่าง (ซึ่งจะกล่าวโดยพิศดารในภายหลัง) มาทำให้หมดเขตอานิสงส์ คือ หมดเขตที่จะได้รับความยกเว้นในความผิดวินัยก่อนครบกำหนด ๔ เดือนได้ การที่มีเหตุใดเหตุหนึ่งมากระทำให้เขตอานิสงส์หมดอายุลงเช่นนี้ เรียกว่า “กฐินเดาะ”

๒. ประวัติของกฐิน
                        ประวัติของกฐินนั้นมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ ๓๐ รูป มีความประสงค์จะไปเฝ้าพระพุทะเจ้า ณ เมืองสาวัตถี จึงพากันเดินทางจากเมืองปาฐาไปสาวัตถี แต่พอไปถึงเมืองสาเกต ซึ่งอยู่ในระยะทางอีก ๖ โยชน์จะถึงสาวัตถี ก็เผอิญถึงวันเข้าพรรษาภิกษุเหล่านั้นจะเดินทางต่อไปไม่ได้ จึงจำพรรษาอยู่ในเมืองสาเกต ในระหว่างจำพรรษามีความร้อนรนอยากเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยเร็ว พอออกพรรษาก็ออกเดินทางจากเมืองสาเกต ในเวลานั้นฝนยังตกมากอยู่ ทางเดินก็เป็นโคลนตมเปรอะเปื้อน เมื่อมาถึงเมืองสาวัตถีได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงทราบความลำบากของพระภิกษุเหล่านั้น จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุทำพิธีกรานกฐิน ในระยะเวลาภายหลังวันออกพรรษาแล้วไป ๑ เดือน ภิกษุที่ได้ทำพิธีกรานกฐินแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ คือความยกเว้นในการผิดวินัย ๕ ประการ เป็นเวลา ๔ เดือน (หมดเขตในวันเพ็ญเดือนสี่) อานิสงส์หรือความยกเว้นทั้ง ๕ ประการนั้น คือ

๑. เข้าบ้านได้โดยไม่ต้องลาภิกษุด้วยกัน
๒. เดินทางโดยไม่ต้องเอาไตรจีวรไปด้วย
๓. ฉันอาหารโดยล้อมวงกันได้
๔. เก็บอาหารที่ยังไม่ต้องการใช้ ไว้ได้
๕. ลาภที่เกิดขึ้น ให้เป็นของภิกษุผู้จำพรรษาในวัดนั้น ซึ่งได้กรานกฐินแล้ว
                        ที่กล่าวนี้เป็นประวัติของกฐิน ซึ่งเก็บความจากพระบาลี แต่ข้อความที่กล่าวข้างต้นนี้ยังเข้าใจยาก และไม่แลเห็นว่าเหตุผลเนื่องถึงกันอย่างไร ฉะนั้นจึงต้องอธิบายขยายความสักเล็กน้อย
                        ตามหลักวินัย ภิกษุจะเข้าบ้านต้องบอกลากัน จะเดินทางต้องเอาไตรจีวรไปให้ครบชุดเวลาฉันอาหารต้องนั่งเรียงกัน จะล้อมวงกันไม่ได้ จึงที่เหลือใช้เก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน ลาภที่เกิดขึ้นต้องให้แก่ภิกษุผู้มีอาวุโส คือที่บวชนานที่สุด ข้อบังคับเหล่านี้ ย่อมเป็นความลำบากแก่ภิกษุทั้งหลายเป็นอันมาก เช่นการเข้าบ้านต้องบอกลากันเสมอไปนั้น ถ้าเผอิญอยู่คนเดียว ไม่มีใครจะรับลา ก็เข้าบ้านไม่ได้ การเดินทางต้องเอาไตรจีวรไปให้ครบ หมายความว่าต้องเอาผ้านุ่งห่มไปให้ครบชุด คือ สบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าซ้อนผ้าห่ม) ในครั้งก่อน ภิกษุไม่มีโอกาสได้ผ้าบางเนื้อละเอียดอย่างสมัยนี้เสมอไป ถ้าไปได้ผ้าเปลือกไม้หรือผ้าอะไรชนิดหนา การที่จะนำเอาไปด้วยนั้นไม่เป็นการง่าย ภิกษุ ๓๐ รูปที่เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ก็ได้รับความลำบากในเรื่องนี้มาแล้ว การห้ามฉันอาหารล้อมวง และบังคับให้นั่งเรียงกันฉันอาหารนั้น ถ้ามีอาหารน้อยก็ทำความลำบาก เราทราบอยู่แล้วว่าการรับประทานแยกกันย่อมปลีกอาหารมากกว่าการรับประทานรวมกัน เรื่องนี้ภิกษุ ๓๐ รูป ที่เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ก็คงได้รับประสบความลำบากเรื่องนี้มา ในระหว่างทางเหมือนกัน เรื่องจีวรที่ไม่ต้องการใช้นั้น ในชั้นเดิมเป็นความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้า ที่จะไม่ให้พระภิกษุเก็บสะสมทรัพย์สมบัติ ถ้ามีอะไรเหลือใช้

จะเก็บไว้ไม่ได้ ต้องให้คนอื่นเสีย โดยเฉพาะเรื่องจีวรนี้มีบัญญัติว่า ถ้ามีจีวรเหลือใช้เก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน พัน ๑๐ วันไปแล้วต้องสละให้คนอื่นไป ถ้าจะไม่สละต้องทำพิธี ๒ อย่าง อย่างหนึ่งเรียกว่า “วิกัป” คือไปทำความตกลงกับภิกษุอีกรูปหนึ่งให้เป็นเจ้าของจีวรด้วยกัน แล้วมอบให้ตนเก็บไว้ อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า “อธิษฐาน” คือถ้าจีวรที่เหลือใช้นั้นใหม่กว่าของที่ใช้อยู่ ก็เอามาใช้เสีย แล้วสละของเก่าให้คนอื่นไป การห้ามกวดขันไม่ให้เก็บผ้าจีวรไว้เกินต้องการเช่นนี้ ในบางครั้งก็เกิดความลำบากเช่น ถูกขโมยลักจีวร ซึ่งเคยถูกกันมามากในครั้งพุทธกาล หรือมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้จีวรนั้นใช้ไม่ได้ ก็ไม่มีสำรองเสียเลย ในเรื่องลาภที่เกิดขึ้นในวัดนั้น มีข้อบังคับกวดขันว่าให้ได้แก่ภิกษุที่มีพรรษายุกาลมากที่สุด คือที่บวชก่อนคนอื่น ในเรื่องนี้ทำความเดือดร้อนหลายครั้ง เช่นภิกษุอยู่ในวัดเดียวกัน อดอยากมาด้วยกัน มีผู้เอาของมาถวาย และในวันที่มีผู้เอาของมาถวายนั้น เผอิญมีภิกษุจรมาพักอยู่ในวัดนั้นด้วย และภิกษุจรมีพรรษายุกาลมากกว่าภิกษุที่อยู่ในวัด ลาภนั้นก็ต้องตกเป็นของภิกษุที่จรมา ส่วนภิกษุที่อยู่ในวัดก็ไม่มีส่วนได้
                        ความขัดข้องลำบากเกิดจากทางวินัยอย่างนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงเห็นมานานแล้ว แต่วินัยของพระพุทธเจ้าไม่เหมือนกฎหมาย คือกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้ว ถ้ารู้สึกว่าไม่ดีก็ประกาศเลิก และบัญญัติใหม่ ส่วนวินัยของพระพุทธเจ้าประกาศเลิกไม่ได้ ได้แต่งดชั่วคราว หรือมีข้อยกเว้นพิเศษให้ เมื่อได้ทรงเห็นความลำบากของภิกษุที่มาเฝ้า ทรงเห็นชัดว่าควรให้ความยกเว้นในเรื่องหอบหิ้วเอาไตรจีวรมา และทรงยกเว้นในข้อนี้ ก็เลยทรงประทานข้อยกเว้นอื่น ๆ ที่ทรงดำริมาแล้วแต่ก่อนด้วย จึงเกิดมีข้อยกเว้นขึ้น ๕ ข้อดังกล่าวมาข้างต้น
                        แต่การที่งดใช้วินัยชั่วคราว หรือให้ความยกเว้นเป็นพิเศษนั้น จะให้กันเฉยๆ ไม่ได้ พระภิกษุต้องได้ทำความดีอันใดอันหนึ่ง จึงจะได้รับความยกเว้น ฉะนั้นการที่จะให้ภิกษุได้รับความยกเว้นในข้อนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติให้มีพิธีกรานกฐิน พิธีกรานกฐินต้องถือเป็นความดีความชอบอย่างหนึ่ง เพราะการทำจีวรในสมัยนั้นไม่ใช่ของง่าย ๆ ตามปกติเวลามีการทำจีวร ภิกษุย่อมได้รับความยกเว้นในวินัยหลายข้ออยู่แล้ว เมื่อต้องมาทำจีวรโดยรีบร้อนให้เสร็จในวันเดียว และตกเป็นสมบัติของคณะสงฆ์อีกเช่นนี้ ก็ควรเป็นความชอบที่พึงได้รับความยกเว้นในวินัย

ประเพณีทอดกฐิน : ตำนาน ความหมาย และอานิสงส์
                        หลังจากวันออกพรรษาเป็นเวลา ๑ เดือน คือ ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ หรือจำง่ายๆ ว่า ตั้งแต่วันตักบาตรเทโวจนถึงวันลอยกระทง เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า "เทศกาลกฐิน" . . .
                        ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ ๓๑ ตุลาคม -๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เมื่อพูดถึง “กฐิน” คนส่วนใหญ่คงคุ้นเคยกับซองทำบุญที่ได้รับในช่วงนี้ แต่เรื่องราวเกี่ยวกับ กฐิน ว่ามีตำนาน ความหมาย อย่างไร เชื่อว่าคงรู้กันไม่มากนัก ดังนั้น กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำมาเสนอให้ได้ทราบ ดังต่อไปนี้

ตำนานความเป็นมา

                        มีตำนานเล่าว่าในครั้งพุทธกาล ครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ ๓๐ รูป ถือธุงดงควัตรอย่างยิ่งยวด มีความประสงค์จะเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งขณะนั้นประทับอยู่กรุงสาวัตถี จึงพากันเดินทางไป พอไปถึงเมืองสาเกตก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดี จึงต้องจำพรรษาอยู่ที่นั่นตามพระวินัย ครั้นออกพรรษาปวารณาแล้วก็รีบเดินทางไปเฝ้า ระหว่างทางฝนตก หนทางเป็นโคลนตม ต้องบุกลุยไปจนถึงกรุงสาวัตถี ได้รับความลำบากมาก ครั้งได้เฝ้าฯ พระพุทธองค์ทรงมีปฏิสันถารถึงเรื่องจำพรรษาและการเดินทาง ภิกษุเหล่านั้นก็ได้ทูลถึงความตั้งใจที่จะมาเฝ้า และความยากลำบากในการเดินทางให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าจึงทรงมีพระพุทธานุญาตให้พระภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนแล้วกรานกฐินได้ และจะได้รับอานิสงส์จากพระวินัยบางข้อ (กรานกฐิน เป็นพิธีฝ่ายภิกษุที่ได้รับมอบผ้ากฐิน แล้วนำผ้าที่ได้ไปตัดเย็บย้อมทำเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่ง)

ความหมาย
                        คำว่า "กฐิน" มีความหมายเกี่ยวเนื่องถึง ๔ ประการ คือ
                        ๑. เป็นชื่อของกรอบไม้ อันเป็นแม่แบบสำหรับทำจีวร ที่อาจเรียกว่า "สะดึง" เนื่องจากสมัยพุทธกาล การทำจีวรให้มีลักษณะตามกำหนดกระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ให้เป็นอุปกรณ์ในการทำผ้านุ่ง/ผ้าห่ม/ผ้าห่มซ้อนที่รวมเรียกว่า จีวร ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ (ผ้านุ่งพระ เรียกสบง /ผ้าห่ม เรียกจีวร /ผ้าห่มซ้อน เรียกสังฆาฎิ) โดยพระสงฆ์จะช่วยกันทำโดยอาศัยแม่แบบนี้ เมื่อทำเสร็จและพ้นกำหนดกาลแล้วก็จะรื้อไม้แม่แบบเก็บไว้ใช้ในปีต่อๆ ไป การรื้อไม้แม่แบบเพื่อเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้านี้เรียกว่า "เดาะ" หรือ "กฐินเดาะ" (เดาะกฐินก็เรียก)
                        ๒. เป็นชื่อของผ้า ที่ถวายแก่สงฆ์เพื่อทำจีวรตามแบบหรือกรอบไม้นั้น และต้องถวายตามกำหนดเวลา ๑ เดือนดังกล่าว ซึ่งผ้านี้จะเป็นผ้าใหม่ ผ้าเก่าฟอกสะอาดหรือผ้าบังสุกุล (ผ้าที่เขาทิ้งแล้ว) ก็ได้ ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์หรือภิกษุ สามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้วเป็นอันใช้ได้
                        ๓. เป็นชื่อของบุญกิริยา คือ การทำบุญถวายผ้ากฐินเพื่อให้สงฆ์ทำเป็นจีวร ซึ่งต้องเป็นพระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ ๓ เดือน ทั้งนี้ เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าใหม่ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐินหรือที่เรียกกันติดปากว่า "ทอดกฐิน" ก็คือการทอดหรือวางผ้าลงไป แล้วกล่าวคำถวายในท่ามกลางสงฆ์ และต้องทำในเวลาที่กำหนด ๑ เดือนที่ว่า ถ้าทำก่อนหรือหลังไม่ถือว่าเป็นกฐิน
                        ๔. เป็นชื่อของสังฆกรรม คือ กิจกรรมของสงฆ์ที่จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

ประเภทของกฐิน

                        แยกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ ๑. กฐินหลวง ๒. กฐินราษฎร์
                        ๑. กฐินหลวง มีประวัติว่าเมื่อพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายมาประดิษฐานในประเทศไทย และประชาชนชาวไทยได้นับถือพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ การทอดกฐินก็ได้กลายเป็นประเพณีของบ้านเมืองมาโดยลำดับ และพระเจ้าแผ่นดินผู้ปกครองบ้านเมืองก็ได้ทรงรับเรื่องกฐินเป็นพระราชพิธี อย่างหนึ่ง การที่พระเจ้าแผ่นดินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเกี่ยวกับกฐินเป็นพระราชพิธีดังกล่าว เป็นเหตุให้เรียกกันว่า กฐินหลวง ดังนั้น วัดใดก็ตามไม่ว่าวัดหลวงหรือวัดราษฎร์ที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐินแล้ว ก็เรียกว่า กฐินหลวงทั้งสิ้น แต่สมัยต่อมากฐินหลวงได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะการณ์ของบ้านเมือง เช่น ประชาชนมีศรัทธา เจริญรอยตามพระราชศรัทธาของพระเจ้าแผ่นดินและได้รับพระกรุณาให้ถวายผ้าพระกฐินตามควรแก่ฐานะ กฐินหลวงปัจจุบันจึงได้แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
                        ๑.๑ กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ หรือองคมนตรีเป็นผู้แทนพระองค์ไปถวายเป็นประจำ ณ วัดสำคัญๆ ปัจจุบันมี ๑๖ วัด เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ วัดสุทัศน์เทพวราราม วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นต้น
                        ๑.๒ กฐินต้น หมายถึง กฐินที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดที่มิใช่วัดหลวงและมิได้เสด็จไปอย่างเป็นทางการหรืออย่างเป็นพระราชพิธีแต่เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์
                        ๑.๓ กฐินพระราชทาน เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าของหลวงแก่ผู้ที่กราบบังคมทูลขอพระราชทานไปถวายยังวัดหลวง ที่นอกเหนือไปจากวัดสำคัญ ๑๖ วัดที่กำหนดไว้ เหตุที่มีกฐินพระราชทาน ก็เพราะปัจจุบันวัดหลวงมีจำนวนมาก จึงเปิดโอกาสให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ตลอดจนคณะบุคคลต่างๆ ที่สมควรขอพระราชทานผ้าพระกฐินไปถวายได้ ซึ่งกฐินดังกล่าวส่วนใหญ่ก็คือกฐินที่หน่วยงานราชการต่างๆ นำไปถวายนั่นเอง ทั้งนี้ ผู้ที่จะรับพระราชทานผ้ากฐินไปถวาย ณ วัดหลวงวัดใดต้องติดต่อไปยังกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ตามระเบียบเพื่อเป็นการจองไว้ก่อนด้วย
                        ๒. กฐินราษฎร์ หมายถึง กฐินที่ราษฎรหรือประชาชนผู้มีศรัทธานำผ้ากฐินของตนไปถวายตามวัดต่างๆ ยกเว้นวัดหลวง ๑๖ วัดที่กล่าวไว้แล้ว ซึ่งจะมีชื่อเรียกต่างๆ ตามลักษณะของการทอด คือ
                        ๒.๑ กฐินหรือมหากฐิน เป็นกฐินที่ราษฎรนำไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่งที่ตนศรัทธาเป็นการเฉพาะ ผ้าที่เป็นองค์กฐินจะเป็นผืนเดียวหรือหลายผืนก็ได้ จะเย็บแล้วหรือไม่ก็ได้ แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นผ้าสำเร็จรูปแล้ว และนิยมถวายของอื่นๆ ที่เรียกว่า บริวารกฐิน ไปพร้อมกับองค์กฐินด้วย เช่น เครื่องอุปโภค บริโภคของพระภิกษุสงฆ์ อย่างหมอน โอ่งน้ำ เตา ไม้กวาด จอบ เสียบ อาหาร ยาต่างๆ เป็นต้น
                        ๒.๒ จุลกฐิน เป็นกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบเร่ง เดิมเรียกแบบไทยๆ ว่า กฐินแล่น เจ้าภาพที่จะทอดกฐินเช่นนี้ได้ต้องมีพวกและกำลังมาก เพราะต้องเริ่มตั้งแต่ปั่นฝ้ายเป็นด้าย ทอด้ายให้เป็นผ้า ตัดผ้าและเย็บผ้าเป็นจีวร ย้อมสี และต้องทอดภายในวันนั้น และพระสงฆ์ก็ต้องกรานและอนุโมทนาในวันนั้นๆ ด้วย เรียกว่าเป็นกฐินที่ต้องทำทุกอย่างให้เสร็จภายในวันเดียว
                        ๒.๓ กฐินสามัคคี เป็นกฐินที่มีเจ้าภาพหลายคนร่วมกัน ไม่จำเป็นว่าใครบริจาคมากน้อย แต่มักตั้งเป็นคณะทำงานขึ้นมาดำเนินการและมีหนังสือบอกบุญไปยังผู้อื่น เมื่อได้ปัจจัยมาเท่าไรก็จัดผ้าอันเป็นองค์กฐิน รวมทั้งบริวารไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่งที่จองไว้ ซึ่งกฐินชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพราะนอกจากทำบุญกฐินแล้ว ยังนำปัจจัยที่เหลือไปช่วยทำนุบำรุงวัด เช่น ก่อสร้างศาสนสถาน บูรณะปฎิสังขรณ์โบสถ์ เจดีย์ เป็นต้น
                        ๒.๔ กฐินตกค้าง หรือ กฐินโจร กล่าวคือในท้องถิ่นที่มีวัดมากๆ อาจจะมีวัดตกค้างไม่มีใครไปทอด จึงมีผู้มีจิตศรัทธาเสาะหาวัดอย่างนี้ แล้วนำกฐินไปทอด ซึ่งมักจะเป็นวันใกล้สิ้นเทศกาลกฐินหรือวันสุดท้าย จึงเรียกว่า กฐินตกค้าง หรืออาจเรียกว่า กฐินโจร เพราะกิริยาอาการที่ไปทอดอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว จู่ๆ ก็ไปทอด ไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้วัดรู้เพื่อเตรียมตัวคล้ายโจรบุก ซึ่งกฐินแบบนี้ต่างกับกฐินอื่นคือ ไม่มีการจองล่วงหน้า และจะทอดเฉพาะวัดที่ยังไม่มีใครทอด จะทอดหลายวัดก็ได้ และสามารถเอาของไทยธรรมที่เหลือจากวัดที่ไม่ได้ทอด (กรณีไปหลายวัด) ไปจัดเป็นผ้าป่า เรียกว่า "ผ้าป่าแถมกฐิน" ก็ได้

อานิสงส์หรือผลดีของการทอดกฐิน

                        การทอดกฐิน ถือเป็นการทำบุญพิเศษที่ทำได้เพียงปีละครั้ง และต้องอยู่ภายในกำหนดเวลาหนึ่งเดือนตามพุทธบัญญัติ ดังนั้น อานิสงส์หรือผลดีจึงมีหลายประการ กล่าวคือ ได้สงเคราะห์พระสงฆ์ผู้จำพรรษาให้ได้ผ้านุ่งห่มใหม่ ได้ชื่อว่าทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา สร้างกุศลจิตแก่ผู้ทำบุญเพราะทำด้วยความเลื่อมใสศรัทธา อีกทั้งการทอดกฐินยังก่อให้เกิดความสามัคคี เป็นการร่วมมือกันทำคุณงามความดี และหากการถวายกฐินนั้น มีส่วนในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ก็จะได้ชื่อว่ามีส่วนช่วยรักษาศาสนสถานและศาสนวัตถุให้ยั่งยืนต่อไป

ความหมายของกฐินที่เกี่ยวข้องกันดังนี้

                        -กฐินที่เป็นชื่อของกรอบไม้ กรอบไม้แม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่าสะดึงก็ได้ เนื่องจากในครั้งพุทธกาลการทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนดกระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำเป็นผ้านุ่งหรือผ้าห่ม หรือผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่าจีวรเป็นส่วนรวม ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในภาษาไทยนิยมเรียก ผ้านุ่ง ว่า สบง, ผ้าห่ม ว่า จีวร และ ผ้าห่มซ้อน ว่า สังฆาฏิ
                        -กฐินที่เป็นชื่อของผ้า หมายถึงผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล 1 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาด หรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว และเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าที่มีผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้วก็เป็นอันใช้ได้
                        -กฐินที่เป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญ คือการถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบไตรมาส เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐิน หรือที่เรียกว่า ทอดกฐิน คือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำว่าถวายในท่ามกลางสงฆ์ เรียกได้ว่าเป็น กาลทาน คือการถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน ท่านจึงถือโอกาสทำได้ยาก
                        -กฐินที่เป็นชื่อของสังฆกรรม คือกิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของภิกษุทั้งหลายก็จะได้เป็นโอกาสให้ ได้ช่วยกันทำจีวรของภิกษุรูปอื่น ขยายเวลาทำจีวรได้อีก 4 เดือน ทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธกาลการหาผ้า การทำจีวรทำได้โดยยาก ไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน ๑๐ วัน แต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐินแล้วอนุญาตให้แสวงหาผ้าและเก็บไว้ทำ เป็นจีวรได้จนตลอดฤดูหนาว คือจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4

 

- ที่มาของประเพณีทอดกฐิน :-

                        ในสมัยพุทธกาล ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐจำนวน ๓๐ รูป เดินทางมาเฝ้าพระศาสดา แต่ไม่ทันวันเข้าพรรษา จึงจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออกพรรษาฝนยังตกชุกอยู่ ภิกษุเหล่านั้นก็เดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความลำบาก ระยะนั้นมีฝนตกชุก หนทางที่เดินชุ่มไปด้วยน้ำ เป็นโคลนเป็นตม ต้องบุกต้องลุยมาจนกระทั่งถึงกรุงสาวัตถี พระศาสดาตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทาง ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลให้ทรงทราบ จากนั้นพระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาตให้มีการถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาส โดยกำหนดระยะเวลา คือ นับจากวันออกพรรษาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นระยะเวลา 1 ดือน กฐิน จึงได้ชื่อว่าเป็น กาลทาน

-ความพิเศษของกฐินทาน :-

                        บุญกฐินนี้เป็นบุญพิเศษ มีอานิสงส์มาก เพราะว่าเป็นบุญที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้และมีมาแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งมีความพิเศษดังนี้

                        1. จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้
                        2. จำกัดเวลา คือ ต้องถวายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป
                        3. จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน
                        4. จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่สงฆ์กำหนดไว้
                        5. จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 รูป

                        6. จำกัดคราว คือ วัดๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
                        7. เป็นพระบรมพุทธานุญาต ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่นมหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตถวายผ้าอาบน้ำฝน แต่ผ้ากฐินนี้พระองค์ทรงอนุญาตเอง นับเป็นพระพุทธประสงค์โดยตรง

- อานิสงส์จากการทำบุญทอดกฐิน :-
                        1. ทำให้เกิดมาในตระกูลที่ดี มีสัมมาทิฐิ
                        2. ทำให้ได้ลักษณะที่งดงามสมส่วน
                        3. ทำให้มีผิวพรรณงดงาม
                        4. ทำให้มีทรัพย์สมบัติมาก ไม่ลำบากในการแสวงหาทรัพย์
                        5. เมื่อละโลกแล้วย่อมไปบังเกิดในสวรรค์

อานิสงส์ที่ชัดที่สุด
                        ก็คือสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา พระพุทธเจ้าสมัยที่ท่านเกิดเป็นมหาทุกขตะ คือคนที่จนมาก ท่านเป็นคนรับใช้คนอื่นเขา ในสมัยนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีนามว่าปทุมมุตตระ ท่านเป็นคนใช้เขา เจ้านายจะจัดกฐินก็สั่งให้มหาทุกขตะจัดการให้ทุกอย่าง มหาทุกขตะก็บอกว่า ข้าแต่นายขอร่วมมีส่วนในกฐินนี้ได้หรือไม่ นายก็บอกว่าได้ซิเรามีอะไรล่ะ บอกว่าเดี๋ยวขอเสาะหาก่อน คราวนี้เขามีแต่ผ้านุ่งอยู่ผืนเดียว แขกเขาจะมีผ้านุ่งอยู่ผืนหนึ่งแล้วผ้าห่มผืนหนึ่ง แต่มหาทุกขตะจนมากมีผ้านุ่งผืนเดียวก็ไม่ทราบจะทำอย่างไรดี เลยเข้าไปในป่าเอาใบไม้มาเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่มแทน แล้วเอาผ้าผืนนั้นไปที่ตลาดไปถามกับพ่อค้าว่าผ้าผืนนี้สามารถแลกของอะไรได้ บ้าง เขาถามว่าเธอจะเอาไปทำอะไรผ้าก็เก่าเต็มทีจะแลกของอะไรได้นักหนาเชียว เขาก็บอกว่านายของเรานี่จัดกฐินขึ้นมาเพื่อทอดถวายพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธ ศาสนา เราก็อยากทำบุญด้วยก็บอกว่าถ้าอย่างนั้นก็ให้เข็มไปเล่มหนึ่งแล้วก็ด้ายไป กลุ่มหนึ่ง เพราะว่าผ้าเก่ามากแล้วมีค่าน้อยมาก ท่านก็เอาเข็มกับด้ายนั้นเข้าไปร่วมในกองกฐินแล้วตั้งใจอธิษฐานว่าขอให้ผล บุญที่ได้ทำบุญกฐินครั้งนี้ขอให้ท่านบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณดังที่ปรารถนา ด้วยเถิด เสร็จแล้วปรากฏว่าพอถึงชาติปัจจุบันนี้ท่านบรรลุมรรผลได้จริง ๆ
                        หลวงพ่อท่านเคยเทศน์ถึงอานิสงส์กฐินท่านบอกว่าบุคคลที่ ตั้งใจทำบุญกฐินพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าแม้แต่ทิพจักษุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าซึ่งถือว่าเลิศแล้วที่สุด ยังมองไม่เห็นเลยว่าอานิสงส์นั้นจะไปสิ้นสุดตรงไหน ส่วนใหญ่ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จะเป็นพระมหากษัตริย์ หรือเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี เกิดแล้วเกิดอีกอยู่ในระดับของความดีนี้ตลอดจนกระทั่งไม่สิ้นสุดของอานิสงส์ กฐินก็จะเข้านิพพานเสียก่อน ฟังดูแล้วน่าทำไหม ร่วมกับเขาบ่อย ๆ

ประวัติหลวงพ่อปาน  หลวงพ่อปานทอดกฐิน
                        หลวงพ่อปานก็ไปทอดกฐิน๗-๘วัดแต่การทอดกฐินคราวนั้นท่านประกาศกับบรรดาพุทธบริษัทของท่านว่าจะต้องการเอาอาหารไปช่วยเขาเขาอดข้าวอดอาหารนี่ท่านเป็นนักสังคมสงเคราะห์แต่ไม่มีใครเขาช่วยท่านหรอกรัฐบาลไม่ได้ร่วมมือแต่ว่าชาวบ้านช่วยท่านไปคราวนั้นปรากฏว่านำข้าวเปลือกบ้างข้าวสารบ้างไป๗ลำเรือเรือลำหนึ่งจุประมาณ๑๐เกวียนบ้างจุประมาณ๒๐เกวียนบ้างเอาไป๗ลำที่ท่านได้มายังงั้นเพราะอะไรเพราะใครมาหาท่านก็บอกท่านจะไปทอดกฐินแล้วว่าการทอดกฐินคราวนี้ต้องเอาข้าวเอาอาหารไปสงเคราะห์คนที่อดข้าวคนนั้นก็ให้คนนี้ก็ให้บางคนก็ให้เงินบางคนก็ให้ข้าวบางคนก็ให้กับพวกกรุงเทพฯก็ให้ทั้งเงินให้ทั้งของทะเลผ้าผ่อนท่อนสไบพวกจังหวัดสมุทรสาครโยมพ่วงอยู่ที่นั่นก็เอาของทะเลมาเป็นลำๆเรือน้ำปลาอย่างดีของทะเลต่างๆแล้วก็เงินทองด้วยผลที่สุดนำไป๗ลำเรือแจกกันขนาดหนักบรรดาประชาชนสาธุไปทั่วกันว่ากันถึงเรื่องการทอดกฐิน
                        จะพูดถึงอานิสงส์กฐินให้ฟังหลวงพ่อปานทอดกฐินคราวไรละก็ท่านก็เทศน์แบบนี้เทศน์แบบนี้ฉันจะนำใจความมาเล่าให้ฟังว่าการทอดกฐินอานิสงส์ของกฐินนี่น่ะให้ผลทั้งชาติปัจจุบันและสัมปรายภพชาติปัจจุบันและสัมปรายภพหมายความว่าชาตินี้และชาติหน้าชาติต่อๆไปคนทอดกฐินสังเกตตัวดู ถ้าทอดแล้วถึง๒-๓ครั้งความเป็นอยู่จะคล่องตัวขึ้นถึงแม้ว่าจะไม่ร่ำรวยก็ตามแต่ความเป็นอยู่จะคล่องตัวขึ้นรู้สึกว่าเป็นคนโชคดีมากขึ้นหาลาภสักการคล่องตัวขึ้นท่านบอกว่านี่ยังเป็นเศษของความดี อานิสงส์ของการทอดกฐินสามารถจะบันดาลให้คนปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าก็สำเร็จผล
                        ดูตัวอย่างองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าองค์ปัจจุบันสมัยนั้นเป็นมหาทุกขตะสมัยที่พระปทุมมุตตะทรงอุบัติขึ้นในโลกแกไม่มีอะไรเป็นคนจนไปชวนนายเขาทอดกฐินตัวเองก็เอาผ้าไปขายแลกกับด้ายหลอดเขามาด้วยด้าย๒หลอดเข็ม๑เล่มเอามาผสมกับกฐินเขาแล้วก็ปรารถนาพระโพธิญาณพระปทุมมุตตะก็ทรงพยากรณ์ว่าบุคคลๆนี้ต่อไปจะได้ตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระสมณโคดมนี่เป็นสมุฏฐานของการปรารถนาพระโพธิญาณของท่านมีกฐินเป็นปัจจัยแล้วหลวงพ่อก็เทศน์ต่อไปว่าบุคคลใดก็ตามทอดกฐินแล้วถวายผ้าไตรจีวรไว้ในพระพุทธศาสนาต่อไปถ้าหากว่าไปได้บรรลุพระอรหัตผลก็จะมีผ้าสำเร็จไปด้วยฤทธิ์มาสวมตัวพระพุทธเจ้าทรงเรียกว่าเอหิภิกขุแปลว่าเจ้าจงเป็นภิกษุมาเถิดเพียงเท่านี้ผ้าไตรจีวรก็จะลอยมาจากอากาศสวมตัวเองด้วยอำนาจของอานิสงส์กฐิน
                        สำหรับผู้หญิงถ้าเป็นเจ้าภาพหรือจัดการในงานกฐินก็จะได้เครื่องมหาลดาปราสาทเครื่องประดับกายอย่างนางวิสาขามีราคาตั้ง๑๖โกฏิสวยงามมากนี่อย่างหนึ่งแล้วอีกอย่างหนึ่งคนที่ทอดกฐินแล้วถ้าตายจากความเป็นมนุษย์จะเกิดเป็นเทวดา๕๐๐ชาติหมายความว่าเกิดแล้ว๑ชาติของเทวดาก็คือพันปีทิพย์หมดกำลังของพันปีทิพย์ก็จะเกิดเป็นเทวดาใหม่ต่อไปอย่างนี้๕๐๐วาระ ความจริงก็ได้เปรียบมากถ้าอย่างลูกหลานได้เป็นอย่างนั้นนะไปนิพพานกันหมดเพราะพวกเรามีศรัทธาอยู่แล้วเป็นเทวดาก็เป็นเทวดาที่ไม่ประมาทยังงี้ไปนิพพานกันหมดดีได้กำไร๕๐๐ชาติ เมื่อพ้นจากความเป็นเทวดาแล้วก็มาเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิถ้าเป็นผู้ชายนะถ้าเป็นผู้หญิงก็เป็นคู่บารมีของพระเจ้าจักรพรรดิ๕๐๐ชาติ พระเจ้าจักรพรรดินี่ไม่ใช่พระเจ้าจักรพรรดิอย่างเบาได๋นะจักรพรรดิส่งเดชอย่างนั้นไม่ใช่คำว่าจักรพรรดินี่มีอำนาจปกครองไปทั้งโลก
มีเกือกแก้วแล้วก็มีพระขรรค์แก้วแล้วก็มีแก้วมณีโชติมีกำลังมากเหาะได้ไม่มีใครมีอำนาจเท่าแล้วก็มีธนูศิลป์ศรจะใช้ยังไงก็ได้เหมือนศรพระรามมีอำนาจปกครองโลกปกครองโลกได้จริงๆไม่มีใครสู้ถ้าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิก็มีขุนพลแก้วรบเก่งขุนคลังแก้วหาเงินเข้าคลังเก่งช้างแก้วม้าแก้วนี่ใช้สงรามได้ดีนางแก้วคือเมียดีเวลาฤดูหนาวร่างกายของเมียก็อบอุ่นมากขึ้นแล้วเวลาฤดูร้อนร่างกายของเมียก็เย็นทำความสุขให้แก่พระเจ้าจักรพรรดินี่เป็นยังงี้นี่ท่านว่ายังงั้นถ้าพ้นจากสวรรค์ก็มาเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ๕๐๐ชาติแล้วพ้นจากนั้นก็เป็นกษัตริย์ธรรมดาไป๕๐๐ชาติจากนั้นก็มาเป็นมหาเศรษฐี๕๐๐ชาติแล้วก็เป็นคหบดี๕๐๐ชาตินี่ท่านบอกว่า
                        อานิสงส์ของกฐินคราวเดียวก็สามารถให้ผลถึงเพียงนี้ทุกคนควรจะทอดกฐินกันแล้วเวลาทอดกฐินก็นึกว่าตนจะสงเคราะห์พระพุทธศาสนาหรือสงเคราะห์พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนานั่นเอง แต่ว่าเนื้อนาบุญนี่สำคัญนะเวลาจะหว่านข้าวลงไปดูเนื้อนาเสียด้วยนี่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เองเนื้อนาบุญนี่สำคัญ ถ้านาดอนหว่านข้าวไม่ขึ้นม้านหมดถ้านาลุ่มข้าวก็น้ำท่วมนี่สำคัญมาก (แล้วว่ากันไปก็แล้วกัน) ใครจะทำที่ไหนจะทอดที่ไหนก็ไม่ว่านี่แนะนำให้ฟังหลวงพ่อปานท่านเทศน์อย่างนี้

                       

1.ได้ทำบุญทอดกฐินเพื่อสงเคราะห์พระพุทธศาสนา มีอานิสงส์ 80 กัลป์
ในภพนี้ได้อานิสงส์การทอดกฐินคือ ดังนี้คือ
                        ๑. ได้ช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนาไว้ ให้ดำรงค์เสถียรภาพอยู่ตลอดกาลนาน
                        ๒. ได้เพิ่มกำลังกายใจให้แก่พระสงฆ์ผู้เป็นศาสนทายาท สืบอายุพระพุทธศาสนาต่อไป
                        ๓. ได้ถวายอุปการะ อุปถัมภ์บำรุงแก่พระภิกษุสามเณรเป็นมหากุศลอันสำคัญยิ่ง
                        ๔. ได้สร้างต้นเหตุของความสุขไว้
                        ๕. ได้สร้างรากเหง้าแห่งสมบัติทั้งหลายไว้
                        ๖. ได้สร้างเสบียงสำหรับเดินทางอันกันดาลในวัฏฏสงสารไว้
                        ๗. ได้สร้างเกาะสร้างที่พึ่งที่อาศัยอันเกษมแก่ตัวเอง
                        ๘. ได้สร้างเครื่องยึดเหนี่ยวแห่งใจไว้
                        ๙. ได้สร้างเครื่องช่วยให้พ้นจากความทุกข์นานาประการ
                        ๑๐. ได้สร้างกำลังใจอันยิ่งใหญ่ไว้ เพื่อเตรียมตัวก่อนตาย
                        ๑๑. ได้จำกัดมลทินคือ มัจฉริยะออกไปจากขันธสันดาน
                        ๑๒. ได้บำเพ็ญสิริมงคลให้แก่ตน

                        ๑๓. ได้สร้างสมบัติทิพย์ไว้ให้แก่ตน
                        ๑๔. เป็นที่รักใคร่ชอบใจของคนทั้งหลาย
                        ๑๕. มีจิตใจผ่องใสเบิกบาน
                        ๑๖. ได้บริจาคทานทั้งสองอย่างควบกันไปคือ อามิสทาน และธรรมทาน และวิหารทาน
                        ๑๗. ให้ได้อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ เป็นทาน
                        ๑๘. ได้ฝังทรัพย์ไว้ในพระพุทธศาสนา คือทำทรัพย์ภายนอกให้เป็นทรัพย์ภายใน ซึ่งเรียกว่าอริยทรัพย์ คือทรัพย์อันประเสริฐ ๗ ประการ ได้แก่ ศรัทธา ศีล หิริ โอตัปปะ เสตะ จาคะ ปัญญา
                        ๑๙. ชื่อว่ายึดถือไว้ได้ซึ่งประโยชน์ ๒ คือ ประโยชน์ภพนี้ ๑ ประโยชน์ภพหน้า ๑

อานิสงส์ในภพหน้านั้นคือ
                        ๑. อทฺโฒ มหทฺธโน มหาโภโค เป็นคนมั่งคั่งสมบูรณ์มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
                        ๒. อภิรูโป ทสฺสนีโย ปาสาทิโก เป็นคนสวยน่าดู น่าเลื่อมใส
                        ๓. สสฺสุสา มีบุตรภรรยา บ่าวไพร่ เป็นคนว่าง่ายสอนง่าย
                        ๔. อตฺถ ปริปุรา มีประโยชน์เต็มเปี่ยมในเวลาจะตายและตายไปแล้ว
                        ๕.ได้ประสบพบเห็นแต่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ล้วนแต่ดีๆ
                        ๖. โภคาภโย ไม่มีภัยแก่โภคทรัพย์
                        ๗. กิตฺติสทฺโท มีชื่อเสียงดี
                        ๘. สุคติปรายโน มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
                        ๙. เป็นพลวปัจจัยให้ได้สมบัติ ๓ ประการคือ มนุษย์สมบัติ ๑ สวรรค์สมบัติ ๑ นิพพานสมบัติ
                        การเป็นเจ้าภาพนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องมีเงินเป็นหมื่น แสน ล้าน ถึงจะได้ทำกัน ถ้าคิดอย่างนี้กัน คิดผิด ลองพิจารณาให้ดี ถ้ามัวแต่ไปกำหนดกฏเกณฑ์ว่าการเป็นเจ้าภาพจะต้องมีเงินเป็นหมื่นเป็นแสน เป็นล้าน อย่างนั้นเมื่อใหร่หล่ะเราจะมีโอกาศได้เป็นเจ้าภาพกับเขาสักที่ ใช่ใหม? เพราะฉะนั้นให้เอากำลังใจเป็นสำคัญที่สละออก พระพุทธเจ้าท่านสรรเสริญก็คือ ทำแล้วตัวเองและคนรอบข้างไม่เดือดร้อน หากแม้นมีความศรัธาจริงทำน้อย ทำมากก็มี อานิสงส์ย่อมไม่แตกกันเลย หรือถ้าไม่มีทรัพย์จริงๆ ก็เอาใจนี่หล่ะ น้อมจิตว่าขอร่วมอนุโมทนาบุญ ก็ย่อมจะได้บุญเช่นเดียวกัน

วิธีกรานกฐิน

                        ภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงกรานกฐินอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงประกาศให้ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาให้ผ้ากฐิน

                        ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน นี่เป็นญัตติ.
                        ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ สงฆ์ให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน การให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่งไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
                        ผ้ากฐินผืนนี้ สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กฐินเป็นอันกราน อย่างนี้ไม่เป็นอันกราน.

กฐินไม่เป็นอันกราน

ภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กฐินไม่เป็นอันกราน คือ

๑.กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงขีดรอย.
๒. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงซักผ้า.
๓. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงกะผ้า.
๔. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงตัดผ้า.
๕. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงเนาผ้า.
๖. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงเย็บด้น.
๗. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงทำลูกดุม.
๘. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาต.
๑๐.กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาตด้านหนึ่ง.
๑๑. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงดามผ้า.
๑๒. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงย้อมเป็นสีหม่นเท่านั้น.
๑๓. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ได้มาด้วยการทำนิมิต.
๑๔. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ได้มาด้วยการพูดเลียบเคียง.
๑๕. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ยืมเขามา.
๑๖. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน.
๑๗. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์.
๑๘. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่มิได้ทำกัปปะพินทุ.
๑๙. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากผ้าสังฆาฏิ.
๒๐. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากผ้าอุตราสงค์.
๒๑. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากผ้าอันตรวาสก.
๒๒. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากจีวรที่มีขันธ์ ๕ หรือเกินกว่า ๕ ขันธ์ซึ่งตัดดีแล้ว ทำให้มีมณฑลเสร็จในวันนั้น
๒๓. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากการกรานแห่งบุคคล.
๒๔. กฐินไม่เป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่นอกสีมาอนุโมทนากฐินนั้น แม้อย่างนี้ กฐินก็ชื่อว่าไม่เป็นอันกราน.

ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กฐินไม่เป็นอันกราน.

กฐินเป็นอันกราน

                        ภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กฐินเป็นอันกราน คือ

๑. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าใหม่.
๒. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเทียมใหม่.
๓. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเก่า.
๔. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าบังสกุล.
๕. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ตกตามร้าน.
๖. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำนิมิตได้มา.
๗. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา.
๘. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ยืมเขามา.
๙. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้เก็บไว้ค้างคืน.
๑๐. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้เป็นนิสสัคคีย์.
๑๑. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ทำกัปปะพินทุแล้ว.
๑๒. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าสังฆาฏิ.
๑๓. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอุตราสงค์.
๑๔. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอันตรวาสก.
๑๕. กฐินเป็นอันกราน ด้วยจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกิน ๕ ซึ่งตัดดีแล้วทำมีมีมณฑลเสร็จในวันนั้น.
๑๖. กบินเป็นอันกราน เพราะการกรานแห่งบุคคล.
๑๗. กบินเป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุอยู่ในสีมาอนุโมทนากฐินนั้น แม้อย่างนี้ กฐินก็ชื่อว่าเป็นอันกราน.

 

 

 

 

ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กฐินเป็นอันกราน.

มาติกา ๘ แห่งการเดาะกฐิน

ภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กฐินเป็นอันเดาะ?  ภิกษุทั้งหลาย มาติกาเพื่อเดาะกฐิน ๘ ข้อนี้คือ

๑. กำหนดด้วยหลีกไป.
๒. กำหนดด้วยจีวรทำเสร็จ.
๓. กำหนดด้วยตกลงใจ.
๔. กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
๕. กำหนดด้วยได้ยินข่าว.
๖. กำหนดด้วยสิ้นหวัง.
๗. กำหนดด้วยล่วงเขต.
๘. กำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน.

อธิบาย ข้อที่ ๑  ถือจีวรหลีกไป

                        ๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำเสร็จแล้วหลีกไปด้วยคิดว่าจักไม่กลับมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยหลีกไป.
                        ๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมาเกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับมาละ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ
                        ๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมาเกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ
                        ๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมาเกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับแล้วให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอ ที่กำลังทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
                        ๕. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ยินข่าวว่าในนอาวาสนั้น กฐินเดาะเสียแล้ว การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยได้ยินข่าว.
                        ๖. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จ คิดว่าจักกลับมา จักกลับมา แล้วล่วงคราวเดาะกฐิน ณ ภายนอกสีมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยล่วงเขต.
                        ๗. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จ คิดว่าจักกลับมา จักกลับมา แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย.

อาทายสัตตกะที่ ๑ จบ

อธิบายข้อที่ ๒นำจีวรหลีกไป

                        ๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำเสร็จแล้วหลีกไป ด้วยคิดว่าจักไม่กลับมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยหลีกไป.
                        ๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.
                        ๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมาเกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนี้กำหนดด้วยตกลงใจ.
                        ๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้น ได้เสียหรือหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
                        ๕. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรหลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ยินข่าวว่าในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยได้ยินข่าว.
                        ๖. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรหลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว คิดว่าจักกลับมา จักกลับมา แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ ณ ภายนอกสีมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยล่วงเขต.
                        ๗. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรหลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่ ณ ภายนอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว คิดว่าจักกลับมาจักกลับมา แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย.

สมาทายสัตตกะที่ ๒ จบ



อธิบายข้อที่ ๓  ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป

                        ๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราจักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.
                        ๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.
                        ๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับแล้ว ให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
                        ๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปด้วยคิดว่า จักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ทราบข่าวว่า ในอาวาสนั้นกฐินเดาะแล้ว การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยได้ยินข่าว.
                        ๕. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่าจักกลับมา จักกลับมา แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ ณ ภายนอกสีมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยล่วงเขต.
                        ๖. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว คิดว่าจักกลับมา จักกลับมา แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย.

อาทายฉักกะที่ ๓ จบ


อธิบายข้อที่ ๔  นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป

                         ๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราจักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละจักไม่กลับ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.
                        ๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนั้น จักไม่กลับมาก การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.
                        ๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนั้น ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้น ได้เสียหรือหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
                        ๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วได้ยินข่าวว่า ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยได้ยินข่าว.
                        ๕. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว คิดว่าจักกลับมา จักกลับมา แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ ณ ภายนอกสีมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยล่วงเขต.
                        ๖. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว คิดว่าจักกลับมา จักกลับมา แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย.

สมาทายฉักกะที่ ๔ จบ  (ยังมีต่อ)...................................................................................................................................

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 229

                                     ว่าด้วยผู้ได้กรานกฐิน

           วินิจฉัยในคำว่า  เอวญฺจ  ปน  ภิกฺขเว  กนํ   อตฺถริตพฺพํ   นี้พึงทราบดังนี้:-

           ในมหาปัจจรีแก้ว่า  ถามว่า ใครได้กรานกฐิน  ใครไม่ได้ ?

           ตอบว่า    ว่าด้วยอำนาจแห่งจำนวนก่อน.     ภิกษุ   ๕   รูปเป็นอย่างต่ำ

ย่อมได้กราน,    อย่างสูงแม้แสนก็ได้.  หย่อน  ๕  รูป  ไม่ได้.

     ว่าด้วยอำนาจภิกษุผู้จำพรรษา.     ภิกษุผู้จำพรรษาในปุริมพรรษาปวารณาในวันปฐม ปวารณาแล้ว  ย่อมได้,  ภิกษุผู้มีพรรษาขาด  หรือจำพรรษาในปัจฉิมพรรษา ย่อมไม่ได้; 

                        แม้ภิกษุที่จำพรรษาในวัดอื่นก็ไม่ได้.   และภิกษุทั้งปวงผู้จำพรรษาหลัง    เป็นคณปูรกะ ของภิกษุผู้จำพรรษาต้นก็ได้,   แต่พวกเธอไม่ได้อานิสงส์   อานิสงส์ย่อมสำเร็จแก่พวกภิกษุนอกนี้เท่านั้น.    

                        ถ้าภิกษุผู้จำพรรษาต้น  มี ๔ รูปหรือ ๓ รูปหรือ ๒ รูป หรือ รูปเดียว,

พึงนิมนต์ภิกษุผู้จำพรรษาหลังมาเพิ่มให้ครบคณะแล้ว   กรานกฐินเถิด.

*ในวินัยปิฎก มหาวรรค เล่มที่ 5 ข้อ 363 หน้ 162-163 มีการนำมากล่าวอ้างว่า
         ภิกษุทั้งหลาย! ในกรณีมีภิกษุจำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้
ถวายผ้าพร้อมกล่าวว่า พวกเราขอถวายแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย!   เราอนุญาตผ้า
เหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน
…………………………………………………………………………………

 “กฐิน  ในพระพุทธศาสนา  (ตอนที่ ๒)”

สาระจากตอนที่ ๑  แสดงให้เห็นว่า กฐิน เป็นเรื่องของผ้าเท่านั้น     ไม่เกี่ยวกับเงินทองเลย    ส่วนใหญ่แล้วจะเกี่ยวกับพระภิกษุที่อยู่จำพรรษาครบ ๓    เดือนโดยตรงที่จะต้องกระทำตามวินัยกรรม        คฤหัสถ์เป็นเพียงผู้ถวายผ้าเท่านั้น

            สำหรับในตอนที่ ๒ นี้จะขอกล่าวถึง  ใครสามารถเป็นผู้ถวายกฐินได้บ้าง, กรานกฐินคืออะไร,  คุณสมบัติของผู้กรานกฐิน,   และอานิสงส์ของพระภิกษุผู้ได้กรานกฐินหรือรับกฐิน  เป็นลำดับไป   ดังนี้

 “ผู้ถวายกฐิน

            ในสมันตปาสาทิกา    อรรถกถาพระวินัยปิฎก    มหาวรรค  หน้า ๒๓๐    มีข้อความที่

แสดงถึงบุคคลผู้ถวายกฐิน   ไว้ว่า  "บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นเทวดาหรือมนุษย์     หรือสหธรรมิก  ๕  (ภิกษุ   ภิกษุณี  สิกขมานา  สามเณร  สามเณรี)   คนใดคนหนึ่ง    ถวายก็ใช้ได้"    

            ซึ่งจะเห็นได้ว่า  นอกจากคฤหัสถ์แล้ว  บุคคลผู้สามารถถวายผ้ากฐินได้ ก็ยังมีอีกดังที่ได้กล่าวมา  แต่ที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้   ผู้ถวายกฐิน ล้วนเป็นคฤหัสถ์ทั้งนั้น

 

กรานกฐิน คือ อะไร?

            คำว่า กรานกฐิน เป็นสำนวนในพระวินัย  (ตามศัพท์หมายถึง เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึ้งไว้ที่ไม้สะดึง)   โดยเนื้อความแล้วสามารถเข้าใจได้ดังนี้คือ  พระภิกษุที่จะกรานกฐิน  ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม (ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป) โดยได้รับการอนุมัติจากสงฆ์ว่าเป็นผู้สมควรได้รับผ้า    แต่เดิมท่านมีผ้านุ่งผืนเก่าอยู่ก็จะต้องสละผ้าผืนเก่าเสียก่อน  แล้วนุ่งผ้าใหม่  อธิษฐานผ้าใหม่ที่จะใช้ต่อไป  พระภิกษุทั้งหมดที่อยู่ร่วมสังฆกรรมก็อนุโมทนา  ขั้นตอนทั้งหมดนี้คือลักษณะของการกรานกฐิน     ซึ่งก่อนที่จะมาถึงขั้นนี้นั้น พระภิกษุทุกรูปจะต้องร่วมกันทำผ้าให้เสร็จเรียบร้อย   เริ่มตั้งแต่การซักผ้าให้สะอาด   กะผ้า     ตัดผ้า   เย็บผ้า ย้อมผ้า เป็นต้น       กิจกรรมทั้งหมดต้องให้เสร็จภายในวันนั้นซึ่งจุดประสงค์จริง ๆ  เพื่อให้สงฆ์สามัคคีกัน   พร้อมเพรียงกัน    แต่ถ้าในกรณีที่คฤหัสถ์ถวายเป็นผ้าสำเร็จรูปอย่างเช่นในปัจจุบัน      พระภิกษุท่านก็สามารถกรานกฐินด้วยผ้าผืนดังกล่าวได้    แต่จะต้องเป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่งเท่านั้น

            จากประเด็นดังกล่าวนี้  คฤหัสถ์ก็สามารถถือเป็นแบบอย่างที่ดีได้ ในเรื่องของความสามัคคี  ความพร้อมเพรียงกัน ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

 “คุณสมบัติของผู้กรานกฐิน

            จะต้องเป็นพระภิกษุที่มีความเข้าใจพระธรรมวินัย      เข้าใจขั้นตอนในการกระทำสังฆกรรมที่ว่าด้วยการกรานกฐินนี้เป็นอย่างดี      พร้อมทั้งเป็นพระเถระ เป็นผู้ทรงคุณเป็นพหูสูต   สมควรแก่ผ้าที่จะได้รับนั้น    และที่สำคัญเป็นผู้มีผ้าเก่าที่ควรจะได้รับการเปลี่ยนเป็นผ้าใหม่     ทั้งหมดนั้นต้องเป็นผู้ได้รับการอนุมัติจากสงฆ์  คฤหัสถ์จะเป็นผู้เจาะจงว่าจะถวายรูปนั้นรูปนี้   ไม่ได้เลย

 “อานิสงส์ของพระภิกษุผู้ได้กรานกฐิน

            เมื่อพระภิกษุได้กรานกฐินถูกต้องตามวินัยจะได้รับอานิสงส์ ๕ ประการ   ซึ่งเกี่ยวกับการได้รับการผ่อนผันในทางพระวินัย    ดังต่อไปนี้

            ๑.  เที่ยวไปไหนโดยไม่ต้องบอกลา  ในพระวินัยมีข้อความปรากฏว่า ถ้ามีการนิมนต์ไปฉันภัตตาหารในบ้าน จะไปต่อในที่อื่นจะต้องลาพระภิกษุ ณ ที่นั้นก่อน       แต่ถ้าได้กรานกฐินแล้วสามารถไปได้เลยโดยไม่ต้องบอกลา เพราะว่าเป็นช่วงที่ต้องมีการทำจีวรเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก  อาจจะขาดเข็ม ขาดด้าย ขาดน้ำย้อม ก็จะสามารถไปบอกข่าวแก่ผู้ที่ได้แจ้งหรือปวารณาไว้ได้  สามารถไปได้เลยโดยไม่ต้องบอกลา (เฉพาะในวันดังกล่าวเท่านั้น)

            ๒.  ไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำรับ       เนื่องจากว่ามีกิจมากในการทำจีวร  ถ้าถือไตรจีวรไปครบสำรับก็อาจจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก  พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงอนุญาตเป็นกรณีพิเศษในช่วงนั้น    ว่าไม่ต้องถือไปครบสำรับ  ถือไปเฉพาะผ้านุ่งกับผ้าห่มเท่านั้น   ผ้าสังฆาฏิไม่ต้องนำไปก็ได้

            ๓.  ฉันคณโภชนะได้   คือ   ฉันเป็นหมู่คณะได้  ๔ รูปขึ้นไป โดยปกติแล้วถ้าพระภิกษุรับนิมนต์โดยคฤหัสถ์บอกชื่ออาหาร จะฉันเป็นคณะ คือ ๔ รูปขึ้นไปไม่ได้   แต่ในช่วงนั้น    ก็ได้รับการผ่อนปรนให้ฉันเป็นคณะโภชนะได้สำหรับผู้ได้กรานกฐิน

            ๔.   ทรงอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา  ในช่วงกาลจีวรนี้  สามารถเก็บผ้าที่ได้มาที่จะมาทำจีวรได้ โดยไม่กำหนดเวลา  ในช่วงที่ได้รับอานิสงส์กฐินนี้    ซึ่งปกติจะเก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วันเท่านั้น

            ๕.  จีวรอันเกิดขึ้น ณ ที่นั้น จักได้แก่พวกเธอ    โดยปกติแล้วในอาวาสหนึ่ง ถ้ามีผู้ถวายผ้า ซึ่งถวายแก่สงฆ์    ทั้งภิกษุที่อยู่จำพรรษาและทั้งที่เป็นภิกษุอาคันตุกะ  สงฆ์จะต้องทำการแบ่งให้กับทุกรูป      แต่ในกรณีที่ได้กรานกฐิน     พระอาคันตุกะไม่มีสิทธิ์    ได้เฉพาะภิกษุผู้จำพรรษา ณ อาวาสนั้นเท่านั้น

            นี้เป็นอานิสงส์สำหรับพระภิกษุโดยตรง   ที่ได้รับการผ่อนผันทางพระวินัยเป็นบางข้อเท่านั้นเอง       

“กฐิน  ในพระพุทธศาสนา  (ตอนที่ ๓)” 

สาระจากตอนที่ ๒  พอที่จะสรุปได้ว่า   พระภิกษุอยู่จำพรรษาในอาวาสนั้นอย่างน้อย ๕ รูปขึ้นไป เท่านั้นถึงจะรับกฐินได้    เมื่อคฤหัสถ์ซึ่งเป็นผู้ถวายผ้าโดยตรง ได้ถวายผ้าแก่สงฆ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว   ขั้นตอนต่อไปเป็นเรื่องของพระภิกษุทุกรูปที่จะต้องกระทำตามพระวินัยเป็นสังฆกรรมประการหนึ่ง และจะต้องทำในเขตสีมา(พระอุโบสถ)  เท่านั้น  เริ่มตั้งแต่ประกาศให้ทราบว่าผ้าผืนนี้จะมอบให้ใคร     แล้วสงฆ์ก็อนุมัติ  และจะต้องทำให้เสร็จภายในวันนั้นด้วย    ตั้งแต่การซัก  การกะ การตัด  การเย็บ  การย้อม    เป็นต้นทำให้สำเร็จตามพระวินัย   รวมเรียกว่า เป็นการกรานกฐิน  พระภิกษุที่ได้กรานกฐินแล้ว จะได้อานิสงฆ์ ๕ ประการ  มี เที่ยวไปโดยไม่ต้องบอกลาเป็นต้น อานิสงส์ ๕ ประการนี้พระภิกษุเท่านั้นที่ได้รับ     ไม่ใช่อานิสงส์สำหรับคฤหัสถ์  

            สำหรับในตอนที่  ๓ นี้  จะเป็นแสดงความเห็น  ใน  ๓ ประเด็น คือ   เกี่ยวกับผู้ถวายกฐินโดยตรง,จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องถวายกฐิน  และ  กฐินเดาะ คือ อะไร  เป็นลำดับไปดังต่อไปนี้

 “เกี่ยวกับผู้ถวายกฐินโดยตรง

            กฐิน เป็นการให้ทานตามกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้โดยตรง  สำหรับผู้ถวายกฐินนั้น ก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้ให้ทานตามกาล  และ เป็นการถวายต่อสงฆ์ไม่ใช่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะ   นอกจากนั้นยังมีโอกาสในการถวายด้าย  เข็ม น้ำย้อม รวมถึงภัตตาหารแก่พระภิกษุ  เป็นการอำนวยความสะดวกแก่พระภิกษุโดยตรงในวันนั้น  และนอกจากนั้นยังมีโอกาสได้เลี้ยงอาหารสำหรับแขกผู้ที่มาร่วมงานในวันดังกล่าว   ด้วยเป็นไปในเรื่องของกุศลทั้งหมด

            ถ้าจะพิจารณาตามความเป็นจริงแล้ว  ไม่ต้องรอเฉพาะช่วงกฐินเท่านั้น    ที่จะเป็นโอกาสของการเจริญกุศล   เวลาอื่นก็ถวายได้  แต่การถวายผ้า หรือการถวายสิ่งของที่สมควรแก่พระภิกษุที่ไม่อยู่ในฤดูกาลกฐิน  ไม่ใช่กฐินเท่านั้นเอง     กุศลจิตไม่ได้จำกัดเลย  และไม่ได้เป็นไปเฉพาะในทานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น     ภูมิมนุษย์เรานั้นเป็นภูมิที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญกุศลได้ทุกประการ  ทั้งทาน  ศีล  และ ภาวนา      โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ในยุคนี้สมัยนี้  พระพุทธศาสนายังดำรงอยู่     บุคคลผู้ที่เป็นบัณฑิตมีปัญญาที่มีความรู้ความเข้าใจพระธรรมในแนวทางที่ถูกต้อง ก็ยังได้แสดงความจริงอยู่     ก็ควรที่จะได้ฟังพระธรรม   ศึกษาพระธรรม สะสมปัญญา เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมยิ่งขึ้น  ต่อไป 

 “จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องถวายกฐิน

            ถ้าวัดใด  ไม่มีผู้ที่เป็นเจ้าภาพถวายกฐิน  ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องวิตกกังวลแต่อย่างใด   ไม่ใช่ว่าไม่มีผู้เป็นเจ้าภาพกฐินแล้วพระภิกษุจะไปขอหรือไปพูดเลียบเคียงกับคฤหัสถ์เพื่อให้ได้มาซึ่งกฐินนี้  ก็ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง   สรุปแล้วคือ    ถ้าไม่มีผู้ถวาย ก็คือ ไม่มีผู้ถวาย           พระภิกษุ     ก็ยังต้องดำเนินชีวิตไปตามวิสัยของบรรพชิตที่มุ่งตรงต่อการศึกษาพระธรรม    อบรมเจริญปัญญา ขัดเกลากิเลสในเพศของบรรพชิตซึ่งเป็นเพศที่ยิ่งกว่าคฤหัสถ์  ต่อไป   เพียงแต่ว่าไม่ได้มีโอกาสได้กรานกฐิน   และไม่ได้รับอานิสงส์ของกฐินเท่านั้นเอง   ซึ่งโดยปกติของพระภิกษุก็จะต้องเป็นผู้ที่สำรวมระวังในพระวินัยที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบัญญัติไว้อย่างเคร่งครัดอยู่แล้ว   เมื่อไม่ได้กรานกฐิน และไม่ได้รับอานิสงส์ของกฐิน    ก็ไม่เป็นไร           แต่ถ้าคฤหัสถ์มีความพร้อมที่จะถวาย  ก็เป็นการดี  เพราะเป็นการได้เจริญกุศลตามกาล     เป็นการได้สะสมความดี เป็นที่พึ่งให้กับตนเอง         แต่ถ้าไม่มีโอกาสหรือไม่สามารถ    ก็ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก        โอกาสแห่งการเจริญขึ้นของกุศลธรรมในชีวิตประจำวัน นั้น   มีมากมาย ขึ้นอยู่กับว่าจะให้ความสำคัญ   ในการเจริญกุศลในแต่ละทาง ๆ  มากน้อยแค่ไหนซึ่งก็เป็นเรื่องของการสะสมของแต่ละบุคคลจริง ๆ  

กฐินเดาะ  คือ อะไร?

         คำว่า กฐินเดาะ  นั้น      เป็นภาษาของพระวินัย      ซึ่งเมื่อจะถอดความหรือแปลให้ชัดเจนแล้ว  หมายถึง  การรื้อกฐิน   ซึ่งสามารถพิจารณาเป็น ๒ ประเด็น คือ

        ๑.  เพราะเป็นกฐินที่ไม่ถูกต้องตามพระวินัย   เช่น  ผ้าที่นำมาถวาย       เป็นผ้าที่ไม่ได้มาอย่างไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย  เช่น เป็นผ้าที่ภิกษุขอเขามา       เป็นผ้าที่พูดเลียบเคียงเขาได้มา  เป็นต้น  หรือ มีการถวายผ้าดังกล่าว   ในช่วงเวลาที่เลยฤดูกฐินไปแล้ว    ซึ่งก็ไม่เป็นกฐิน โดยประการทั้งปวง

        ๒.  เป็นกฐินที่ถูกต้องตามพระวินัย  แต่ก็ยกเลิกเสีย    เช่น  มีการถวายผ้าที่ถูกต้องตามพระวินัย  เป็นผ้าที่ได้มาด้วยความบริสุทธิ์        แต่พระภิกษุที่อยู่จำพรรษา ครบ ๓  เดือน  ในอาวาสนั้น ไม่มีความสามารถในสังฆกรรมที่เป็นวิธีกรานกฐิน  ตั้งแต่ต้นจนจบ       การกรานกฐินหรือการรับกฐิน           ก็เกิดขึ้นไม่ได้

      *ผ่านมาแล้ว  ๓ ตอนด้วยกัน  สำหรับ "กฐิน ในพระพุทธศาสนา"  ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียด และยากที่จะเข้าใจ      แม้แต่ข้าพเจ้าเองก็ไม่สามารถเข้าใจได้ทั้งหมด   จุดประสงค์หลักในการนำเสนอในครั้งนี้  ก็เพียงเพื่อให้เข้าใจโดยรวม ๆ ว่า กฐินที่แท้จริงเป็นอย่างไร  เกี่ยวกับอะไร  ไม่เกี่ยวกับอะไร  สาระสำคัญจริง ๆ  เป็นอย่างไร  ที่ทำกันอยู่นี้ถูกต้องตรงตามพระธรรมวินัยหรือไม่       เพื่อจะเข้าใจและจะได้กระทำให้ถูกต้องเท่าที่นำเสนอมา  ก็อยู่ในขอบข่ายดังกล่าวนี้แล้ว      เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้ามาอยู่มูลนิธิฯใหม่ ๆ ได้ฟังท่านอาจารย์สุจินต์  บริหารวนเขตต์ กล่าวเตือนไว้ตอนหนึ่งน่าสนใจมาก คือ    “เมื่อเรารู้ว่าอะไรผิด แล้ว  เราจะทำให้ถูกขึ้น หรือว่าเราจะทำผิดต่อไป?” ซึ่งก็เป็นเครื่องเตือนใจที่ดีสำหรับผู้ศึกษาพระธรรม ทุกท่านจริง ๆ

            สำหรับอีก    ๒     ตอนที่เหลือ          ข้าพเจ้าจะขอนำเสนอ      คำสนทนาเรื่องกฐิน ระหว่างท่านอาจารย์สุจินต์  บริหารวนเขตต์     คณะวิทยากร    และ ผู้ร่วมสนทนาธรรม      ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา   เป็นลำดับต่อไป.

 …………………………………………………………………………………………………………………….

 

อีกเวอร์ชั่นหนึ่ง

บุญกฐิน

      รวบรวมและเรียบเรียงโดย : พระครูรัตนธรรมานุรักษ์

                        คำว่า “กฐิน” เป็นคำที่คุ้นหูในสังคมไทย เป็นชื่อของประเพณีบุญที่นิยมกันในระยะเวลา ๑ เดือน โดยเริ่มต้นที่วันถัดจากวันออกพรรษาไปถึงวันลอยกระทง ถือเป็นประเพณีบุญที่สำคัญของสังคมไทยมาแต่โบราณ แต่อย่างไรก็ตาม ชีวิตและสังคมที่เร่งรีบในปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบมาถึงประเพณีการทอดกฐิน ให้กลายเป็นประเพณีที่เร่งรีบ และทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปจากความประสงค์ที่แท้จริงของประเพณีดังกล่าว ทั้งอาจจะทำให้ไม่ได้บุญจากการทอดกฐินเลยก็ได้  แล้วทำอย่างไรให้ได้บุญจากการทอดกฐิน นั่นคือประเด็นที่มุ่งหมายของบทความนี้

ความหมาย

                        คำว่า กฐิน  คำนี้ มาจากภาษาบาลีแปลว่า ไม้สะดึง หรือ กรอบไม้ที่ใช้สำหรับขึงผ้าให้ตึง เพื่อประโยชน์ในการตัดเย็บ

                        ในทางพระพุทธศาสนา คำว่า กฐิน ใช้ใน ๒ ความหมาย คือ

                        ๑. เป็นชื่อผ้า และสังฆกรรม หรือ พิธีกรรมของสงฆ์

                        ๒. เป็นชื่อการทำบุญของชาวพุทธ โดยมีผ้าเป็นสื่อกลาง

มีอรรถาธิบายเพื่อความเข้าใจเพิ่มเติม ในทั้งสองกรณี ดังนี้

                        กรณีแรกกฐิน เป็นชื่อของผ้าที่ถวายพระสงฆ์ให้เป็นกฐิน ภายในกำหนดกาล ๑ เดือน นับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ ผ้าฟอกสะอาด ผ้าเก่า ผ้าบังสุกุล (ผ้าที่เขาทิ้งแล้ว) หรือผ้าที่ขายตามท้องตลาดก็ได้ ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์หรือเป็นพระภิกษุสามเณรก็ได้ ถวายแก่พระสงฆ์แล้วก็เป็นอันใช้ได้ จากนั้น พระสงฆ์จะต้องทำสังฆกรรม หรือขั้นตอนพิธีทางสงฆ์ มีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง และอนุโมทนากฐินเป็นขั้นตอนสุดท้าย

                        กรณีที่สอง กฐิน เป็นชื่อของบุญกิริยา หรือ การทำบุญ ด้วยการถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ ๓ เดือน เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่ขาดหรือจะขาด

การทำบุญถวายผ้ากฐิน นิยมเรียกกันว่า ทอดกฐิน หมายถึง ทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำถวายในท่ามกลางสงฆ์ เมื่อกล่าวคำถวายจบแล้ว พระสงฆ์ก็รับว่า สาธุ พร้อมกัน เจ้าภาพจะต้องนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์เฉยๆ ไม่ประเคนด้วยมืออีก ดังนั้น กิริยาที่นำผ้าไปวางไว้นั้น จึงนิยมเรียกกันสืบๆ มาว่า ทอดกฐิน

                        การทอดกฐินเป็น กาลทาน มีเวลาจำกัด คือ การถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน มีเงื่อนไขที่ต้องให้ความสำคัญทุกขั้นตอน จึงถือว่าหาโอกาสทำได้ยาก

ความเป็นมา

                        ในคัมภีร์พระวินัยปิฎก มหาวรรค กฐินขันธกะ ได้กล่าวถึงความเป็นมาว่า ในสมัยที่พระบรมศาสดายังทรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น ครั้งหนึ่งพระภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ ๓๐ รูป ซึ่งถือธุดงควัตรอย่างยิ่งยวด มีความประสงค์จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งขณะนั้นประทับอยู่กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล จึงพากันเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองนั้น พอถึงเมืองสาเกต ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงสาวัตถีประมาณ ๖ โยชน์ ก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดี เดินทางต่อไปมิได้ ต้องจำพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกตตามพระวินัยบัญญัติ ขณะที่จำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต เกิดความกระวนกระวายใจอยากเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นกำลัง ดังนั้นพอถึงวันออกพรรษาปวารณาแล้วจึงรีบเดินทาง แต่ระยะนั้นมีฝนตกมากหนทางที่เดินชุ่มไปด้วยน้ำ เป็นโคลนเป็นตม พื้นดินเต็มไปด้วยหล่มเลน ต้องบุกต้องฝ่าหล่มฝ่าเลนมาจนกระทั่งถึงกรุงสาวัตถีได้เข้าเฝ้าสมความประสงค์
                        พระพุทธองค์ทรงมีปฏิสันถารกับพระภิกษุเหล่านั้นเรื่องการจำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกตและการเดินทาง พระภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลถึงความตั้งใจ ความร้อนรนกระวนกระวายใจและการเดินทางที่ลำบากให้ทรงทราบทุกประการ
                        พระพุทธองค์ทรงทราบและเห็นความลำบากของพระภิกษุ จึงทรงยกเป็นเหตุและมีพระพุทธานุญาตให้พระภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนแล้ว
กรานกฐิน“ขึง” หรือ “ทำให้ตึง” กฐิน เป็นภาษาบาลี แปลว่า “ไม้สะดึง” กรานกฐิน ก็คือ “ขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าที่ไม้สะดึง) โดยมีกำหนด ๑ เดือน ดังกล่าวคือ ให้เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่พระภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันทำจีวรนั้นยกผ้าให้พระภิกษุผู้ฉลาดรูปหนึ่งในนามของสงฆ์ เพื่อจะได้อนุโมทนาร่วมกัน ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้นเรียกว่า ผู้กรานกฐิน (กราน เป็นภาษาเขมร แปลว่า

หลักการ

                        การที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาแล้วได้กรานกฐินนี้ ทำให้ภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำอาวาสอย่างน้อยเป็นเวลา ๑ เดือนหลังจากออกพรรษา ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูฝน ยังมีฝนตกอยู่ และทางสัญจรเต็มไปด้วยหล่มเลน หลังจาก ๑ เดือนผ่านไปแล้ว ถ้าภิกษุสงฆ์ประสงค์ก็สามารถจะหลีกจาริกไปได้โดยสะดวก ในเวลาไม่มีฝนตก และพื้นดินไม่เป็นหล่มเลน

                        พระพุทธองค์ทรงมีพระพุทธานุญาตผ้ากฐิน ด้วยมีพุทธประสงค์จะผ่อนผันให้ความสะดวกในพระธรรมวินัย  แก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ ๓ เดือน เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด โดยในเบื้องต้นทรงมีพระพุทธานุญาตพร้อมกับทรงแสดงอานิสงส์ไว้ ๕ ประการ ดังนี้   “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาแล้ว กรานกฐิน ภิกษุทั้งหลายผู้กรานกฐินแล้วจะได้อานิสงส์ ๕ อย่าง คือ

๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา                  ๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ

๓. ฉันคณะโภชนะได้                         ๔. ทรงอติเรกจีวรไว้ได้ตามความต้องการ

๕. พวกเธอจะได้จีวรที่เกิดขึ้นในที่นั้น

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอผู้กรานกฐินแล้วย่อมได้อานิสงส์ ๕ อย่างนี้แล

                        จากนั้นได้ทรงชี้แจงวิธีกรานกฐิน และขั้นตอนการขอความเห็นชอบจากคณะสงฆ์ที่เรียกว่า ญัตติทุติยกรรมวาจา คือ การตั้งเรื่องหรือญัตติขึ้น จากนั้นก็ลงความเห็นรับรู้ร่วมกัน โดยมีพระเถระที่ฉลาดเป็นผู้ดำเนินการประชุม หรือ ภาษาพระเรียกว่า สวดกรรมวาจา ๑ ครั้ง หากไม่มีภิกษุรูปใดทักท้วงก็เป็นการลงมติเห็นชอบร่วมกัน เป็นอำนาจของสงฆ์ ที่พระทุกรูปต้องถือปฏิบัติ ต่อไปนี้เป็นคำประกาศที่พระพุทธเจ้าทรงประทานแนวทางไว้

                        “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงให้กรานกฐินแก่ภิกษุชื่อนี้เพื่อกรานกฐิน นี่เป็นญัตติ

                        ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงให้กรานกฐินแก่ภิกษุชื่อนี้เพื่อกรานกฐิน ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ผ้ากฐินนี้แก่ภิกษุชื่อนี้เพื่อกรานกฐิน ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง

                        ผ้ากฐินนี้อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุนี้เพื่อกรานกฐิน สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” 

                         ลำดับเหตุการณ์หรือขั้นตอนต่อจากนั้น ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงลักษณะต่างๆ ที่จัดเป็นกฐินแล้วได้รับอานิสงส์ข้างต้น และลักษณะใดที่ทำให้กฐินเดาะหรือไม่สำเร็จประโยชน์ คือไม่ได้อานิสงส์ ในหนังสือนี้จะขอไม่กล่าวถึงเรื่องดังกล่าว เพราะมีข้อปลีกย่อยมาก

คุณสมบัติของพระที่จะรับกฐิน

                        คุณสมบัติของพระภิกษุรูปที่สมควรจะรับผ้ากฐินได้ มี ๘ ประการ คือ

                        ๑. รู้จักบุพพกรณ์ คือ หน้าที่ๆจะต้องทำในเบื้องต้นแห่งการกรานกฐิน ๗ อย่าง คือ   ๑) ซักผ้า ๒) กะผ้า ๓) ตัดผ้า ๔) เนาหรือด้นผ้าที่ตัดแล้ว ๕) เย็บเป็นจีวร ๖) ย้อมจีวรที่เย็บแล้ว ๗) ทำกัปปะ คือ พินทุ (แต้มให้เปื้อน)

                        ๒. รู้จักถอนไตรจีวร

                        ๓. รู้จักอธิษฐานไตรจีวร

                        ๔. รู้จักการกราน

                        ๕. รู้จักมาติกา หรือ หัวข้อแห่งการเดาะกฐิน

                        ๖. รู้จักปลิโพธกังวลเป็นเหตุยังไม่เดาะกฐิน

                        ๗. รู้จักการเดาะกฐิน

                        ๘. รู้จักอานิสงส์กฐิน

                        ในบุพพกรณ์ ๗ ประการนั้น ข้อแรกต้องทำให้เสร็จในวันนั้น แต่ในปัจจุบัน นิยมใช้ผ้าสำเร็จรูป จึงไม่ต้องทำการซัก กะ ตัด เนา เย็บ ย้อม เพียงแต่ทำกัปปะคือพินทุเท่านั้น

พระภิกษุผู้ได้รับผ้ากฐินต้องถอนจีวรสำรับเดิม อธิษฐานจีวรสำรับใหม่ แล้วกล่าวคำกรานกฐิน ด้วยผ้าผืนใดผืนหนึ่ง จะเป็นจีวร สังฆาฏิ หรือสบงก็ได้ เพียงผืนเดียว ด้วยคำว่า

                        “ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าสังฆาฏิ (หรือ จีวร หรือ สบง)นี้”

                        จากนั้นท่านจะออกไปครองผ้า แล้วกลับเข้ามาในมณฑลพิธีสงฆ์ แล้วกล่าวคำอาราธนาให้สงฆ์อนุโมทนากฐินว่า

                        “อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินํ, ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทถ”

แปลว่า “ท่านเจ้าข้า กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินชอบธรรม ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนาเถิด”

                        ขั้นตอนสุดท้าย พระสงฆ์จะกล่าวคำอนุโมทนากฐิน โดยให้ผู้มีอายุพรรษาแก่กว่าพระภิกษุรูปที่ครองผ้ากฐิน กล่าวก่อนว่า

                        “อตฺถตํ อาวุโส สงฺฆสฺส กฐินํ, ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทาม”

แปลว่า “ผู้มีอายุ กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินชอบธรรม เราทั้งหลายขออนุโมทนา”

                        จากนั้นจึงให้พระภิกษุที่มีอายุพรรษาน้อยกว่ากล่าวคำอนุโมทนาว่า

“อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินํ, ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทาม”

แปลว่า “ท่านผู้เจริญ กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินชอบธรรม เราทั้งหลายขออนุโมทนา”

                        เป็นอันเสร็จพิธีกฐินของพระสงฆ์ และด้วยอาศัยพระพุทธบัญญัติมีมาฉะนี้ จึงได้ถือเป็นประเพณีทำกันมาจนกระทั่งทุกวันนี้  

กฐินมีอานิสงส์ทั้งแก่ผู้รับและผู้ให้  สำหรับผู้รับ หรือ พระสงฆ์

                        หากพระสงฆ์ได้ปฏิบัติตามพระพุทธานุญาตทุกประการก็ย่อมได้รับอานิสงส์ ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ทุกประการ ขอขยายความเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นนี้  การที่พระภิกษุจะรับกฐินได้นั้นมิใช่รูปใดจะรับกันได้ ดังที่กล่าวว่ากฐินมีเงื่อนไขที่ต้องให้ความสำคัญทุกขั้นตอน และทำได้ยาก กฐินจะเป็นกฐินหรือไม่ มีองค์ประกอบที่พึงให้ความสนใจ ๖ ประการ คือ

                        ๑.     พระสงฆ์อยู่จำพรรษาในวัดนั้นครบ ๓ เดือน ไม่พรรษาขาด

                        ๒.    ในวัดนั้นต้องมีพระที่มีคุณสมบัติตามข้อ ๑ อย่างน้อย ๕ รูป จำนวนพระที่ต่ำกว่านี้รับกฐินไม่ได้ แม้ไปนิมนต์พระวัดอื่นมาให้ครบจำนวน ๕ รูปก็ไม่จัดเป็นกฐินตามพระพุทธานุญาต

                        ๓.    พระในวัดนั้น จะไปชักชวนให้เขามาถวายผ้ากฐินในวัดของตนเองไม่ได้

                        ๔.    ต้องดำเนินการเรื่องผ้ากฐินให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น

                        ๕.     พระภิกษุรูปที่ครองกฐินต้องรู้จักและเข้าใจขั้นตอนและวิธีปฏิบัติต่อผ้ากฐิน

                        ๖.     พระสงฆ์ในวัดนั้น ต้องพร้อมเพรียงกัน

อานิสงส์จากการรับผ้ากฐิน และการปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระบรมพุทธานุญาต ทำให้ได้รับการผ่อนปรนหรือไม่ต้องอาบัติ หรือโทษ ใน ๕ เรื่อง คือ

                        ๑.อนามันตะจาโร   เที่ยวสัญจรไปโดยไม่ต้องบอกลาภิกษุที่มีอยู่ในที่นั้น  ไม่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ไม่ถือว่าล่วงละเมิดจาริตตสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค

                        ๒.สมาทานะจาโร  จะเดินทางไปที่ไหน ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ จะฝากหรือเก็บไว้ในที่เหมาะสมแห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้ ไม่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ไม่ถือว่าล่วงละเมิดอุทโทสิตสิกขาบที่ ๒ แห่งจีวรวรรค

                        ๓.คณะโภชนัง   ฉันคณะโภชนะได้ คือ แม้จะมี ๔ รูป หรือมากกว่า ก็สามารถรับนิมนต์ไปรับประเคนฉันพร้อมกันได้ หรือออกปากขอภัตตาหารมาฉันพร้อมกันได้ ไม่ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะฉันคณะโภชนะ คือเพราะฉันโภชนะที่เป็นของคณะ ซึ่งคณะได้มา ไม่ถือว่าล่วงละเมิดคณะโภชนสิกขาบทที่ ๒ แห่งโภชนวรรค

                        ๔.ยาวะทัตถะจีวะรัง   เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามต้องการ คือ สามารถเก็บผ้านอกเหนือจากผ้าที่ตนอธิษฐานและวิกัปไว้ได้ แม้จะเกินกำหนด ๑๐ วัน ก็ไม่ต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์เพราะเก็บอติเรกจีวร ไม่ถือว่าล่วงละเมิดกฐินสิกขาบทที่ ๑ แห่งจีวรวรรค

                        ๕. โย จะ ตัตถะ จีวะรุปปาโท  โส  เนสัง  ภวิสสะติ   จีวรลาภอันใด  ที่เกิดขึ้นมีขึ้นในสีมาที่กรานกฐินนั้น  จีวรลาภนั้น  จักเป็นสิทธิ์ของภิกษุทั้งหลายผู้ได้กรานกฐินแล้วนั้น

อานิสงส์ทั้ง ๕ ประการนี้ พระภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว จะได้รับตลอดเขตอานิสงส์กฐิน ๕ เดือน คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ของปีถัดไป

สำหรับผู้ให้ หรือผู้ถวาย

                        ก่อนอื่นพึงทราบว่า กฐินเป็นพระบรมพุทธานุญาตโดยตรง การถวายทานอย่างอื่นมีทายกเป็นผู้ทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตถวายผ้าอาบน้ำฝน  แต่ผ้ากฐินนี้พระพุทธองค์ทรงอนุญาตเอง นับเป็นพระพุทธประสงค์โดยตรง

เกี่ยวกับอานิสงส์ของการถวายผ้ากฐินนั้น ในปัจจุบันมีปรากฏในคัมภีร์และตำราหลายเล่ม บางตำรากล่าวว่า มีอานิสงส์ถึง ๖๓ ประการ ขอยกตัวอย่างสัก ๔ ประการ ดังนี้

 ๑. ชื่อว่า ได้ช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญวัฒนาดำรงเสถียรภาพอยู่ตลอดกาลนาน

 ๒. ชื่อว่า ได้เพิ่มกำลังกาย กำลังใจ ให้แก่พระภิกษุสงฆ์ ผู้เป็นศาสนทายาทสืบอายุพระพุทธศาสนาต่อๆ ไป

 ๓. ชื่อว่า ได้ถวายอุปการะ อุปถัมภ์พระภิกษุสามเณร เป็นมหากุศลอันสำคัญอย่างยิ่ง

 ๔. ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาทต่อมหากุศลของตน

     ฯลฯ

                        แต่ในวรรณกรรมโบราณทางพระพุทธศาสนา ก็ได้ปรากฏการยกย่องกฐินทาน และพรรณนาอานิสงส์ของกฐินทานไว้เป็นพิเศษ ดังนี้

อานิสงส์ของผู้ถวายกฐินเอง

                        ในชาดก ซึ่งเป็นเรื่องเล่าถึงการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าในอดีตชาติ ทำให้เราเห็นภาพความสำคัญของบุญกฐินอย่างน่าอัศจรรย์ โดยกล่าวว่า อำนาจบุญกุศลที่ได้ถวายผ้ากฐิน เป็นกุศลผลบุญที่ใหญ่หลวง ผู้ถวายจะปรารถนาความสำเร็จใด ๆ ในภพชาติใหม่  ก็จะให้สำเร็จได้ดังมโนรถความปรารถนา  หรือถ้าจะปรารถนาพุทธภูมิก็ดี   ปัจเจกภูมิก็ดี  สาวกภูมิก็ดี สาวิกาภูมิก็ดี   เมื่อมีวาสนาบารมีแก่กล้าแล้วก็จะได้สำเร็จดังมโนปณิธาน หรือความปรารถนาที่ตั้งไว้  

                        ในอติเทวราชชาดก ได้เล่าเรื่องพระเจ้าจิตรราชบรมโพธิสัตว์เจ้า ทรงถวายคู่แห่งผ้าเพื่อกฐินแก่พระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วทรงเปล่งพระดำรัสว่า “ข้าพเจ้าขอถวายผ้ากฐินแด่พระภิกษุสงฆ์” ดังนี้ เมื่อเสร็จจากพิธีถวายผ้ากฐินแล้ว ก็ทรงประทับอยู่ ณ บนราชอาสน์อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วจึงทรงประเคนอาหารถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยภัตตาหารมีรสเลิศต่าง ๆ มีข้าวยาคู เป็นต้น ในลำดับนั้น สมเด็จพระโกณฑัญญสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เสด็จประทับ ณ ท่ามกลางแห่งพระภิกษุสงฆ์ ฝ่ายพระเถรเจ้าผู้เป็นธรรมเสนาบดีชื่อว่า พระภัททานิกรรมก็ได้กรานกฐินนั้น ครั้นเสร็จจากการกรานกฐินแล้ว พระโกณฑัญญพุทธเจ้าก็เสด็จประทับในท่ามกลางพุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

                        ส่วนสมเด็จพระเจ้าจิตรราชบรมจักรพรรดินั้น ก็ได้เสด็จเข้าไปสู่ที่ใกล้พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ถวายบังคมด้วยพระเบญจางคประดิษฐ์แล้ว ได้ทรงตั้งพระราชปณิธานความปรารถนาขึ้นว่า    

                        อิมินา  กฐินทาเนน                พุทฺโธ   โหมิ   อนาคเต   

                        ยทา  สพฺพญฺญุตปตฺโต         ตารยิสฺสามิ  ปาณินํ     

                        แปลว่า “ด้วยอำนาจกฐินทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ในอนาคตกาลโน้นเถิด ข้าพเจ้าได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูญุตญาณเจ้าแล้วในกาลใด ก็จะรื้อขนสัตว์ให้พ้นจากสังสารวัฏฎ์ในกาลนั้น”

                        ครั้นจบคำอธิษฐานลง พระโกณฑัญญพุทธเจ้า จึงทรงพิจารณาดูไปในอนาคตกาล  ก็ได้ทรงทราบด้วยพุทธจักษุญาณว่า   ความปรารถนาของบรมกษัตริย์องค์นี้จักสำเร็จสมพระประสงค์ จึงได้ทรงพยากรณ์ว่า ในที่สุดแห่ง ๓ อสงไขยแสนกัลป์  นับแต่กัลป์นั้น พระเจ้าจิตรราชบรมจักรพรรดินี้ จักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า “โคดม” ได้แก่ พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายในบัดนี้  

                        ขณะเดียวกัน ผู้ที่ถวายผ้ากฐินแล้วบังเกิดความปีติ ความสุขใจ แม้มิได้อธิษฐานคุมวงบุญไว้ ก็ได้รับอานิสงส์ไปเกิดเป็นเทวดาและอานิสงส์ที่จะต่อเนื่องไปในภพหน้า ดังคำประกาศบุพพกุศลของท้าวสักกเทวราช ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ว่า

                        “คราวหนึ่งเราเกิดเป็นกุฎุมพีผู้มีทรัพย์อยู่ ณ เมืองพาราณสี ได้ถวายผ้าพระกฐินจีวร (แก่พระปทุมุตรสัมพุทธเจ้า) เราจุติจากอัตตภาพเป็นมนุษย์แล้ว ได้เกิดเป็นภูมิเทวดามีศักดาเดชอยู่ ณ ภูเขาคันธมาทน์ เสวยทิพยสมบัติอยู่นาน ครั้นจุติจากอัตตภาพเป็นภูมิเทวดาแล้ว ได้เกิดเป็นสักกเทวราชผู้มเหศราธิบดีแห่งเทวดาทั้งหลาย ครั้นจุติจากอัตตภาพแห่งสักกเทวราชแล้ว จักเกิดเป็นจักรพรรดิมีกำลังเดชานุภาพมากในทวีปทั้งสี่ และจักเสวยมนุษย์และเทวสมบัติสิ้นแสนกัลป ด้วยอำนาจผลแห่งกฐินทาน ด้วยประการฉะนี้”

ผู้มีส่วนร่วมในกฐินย่อมได้อานิสงส์

                        ในสมัยพระศาสนาของพระกัสสปสัมพุทธเจ้า บุรุษชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่งเป็นคนเข็ญใจไร้ที่พึ่ง ไปอาศัยเศรษฐีสิริธรรมผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์ โดยยอมตนเป็นคนรับใช้ มีหน้าที่ดูแลรักษาหญ้า จึงได้ชื่อว่า ติณบาล แปลว่า ผู้ดูแลรักษาหญ้า ตั้งแต่บัดนั้น

วันหนึ่งเขาคิดว่า “ตัวเรานี้เป็นคนยากจนเช่นนี้เพราะไม่เคยทำบุญอันใดไว้ในชาติก่อนเลย มาชาตินี้จึงตกอยู่ในฐานะผู้รับใช้คนอื่น ไร้ญาติขาดมิตร ไม่มีสมบัติติดตัวแม้แต่น้อย” เมื่อคิดดังนี้แล้วเขาได้แบ่งอาหารที่ท่านเศรษฐีให้ ออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งถวายแก่พระสงฆ์ที่มาบิณฑบาต อีกส่วนหนึ่งเอาไว้สำหรับตนเองรับประทาน ด้วยเดชกุศลผลบุญอันนั้น ทำให้ท่านเศรษฐีเกิดสงสารเขา แล้วให้อาหารเพิ่มอีกเป็น ๒ ส่วน เขาได้แบ่งอาหารเป็น ๓ ส่วน ถวายแก่พระสงฆ์ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งให้แก่คนจนทั้งหลาย ส่วนที่สามเอาไว้บริโภคสำหรับตนเอง เขาทำอยู่อย่างนี้เป็นเวลาช้านาน

                        ต่อมาเป็นวันออกพรรษา เหล่าชนผู้มีศรัทธาต่างพากันทำบุญกฐินเป็นการใหญ่ แม้ท่านเศรษฐีสิริธรรมก็เตรียมจะถวายกฐิน จึงประกาศให้ประชาชนทั้งหลายทราบโดยทั่วกัน เมื่อนายติณบาลได้ยินก็เกิดความเลื่อมใสขึ้นในใจทันที จึงเข้าไปหาท่านเศรษฐีถามอานิสงส์ของกฐิน เศรษฐีตอบว่า “มีอานิสงส์มากมายหนักหนา สมเด็จพระบรมศาสดาทรงตรัสยกย่องสรรเสริญว่าเป็นทานอันประเสริฐ”

                        เมื่อเขาได้ทราบดังนี้แล้ว ก็มีความโสมนัสปลาบปลื้มเป็นอันมาก แสดงความประสงค์ที่จะร่วมอนุโมทนาในการบำเพ็ญทานครั้งนี้ด้วย จึงได้กลับไปที่อยู่ของตน แล้วเกิคความคิดขึ้นว่า “เราไม่มีอะไรเลย แม้แต่ผ้าดีๆ สักผืน เราจะทำบุญร่วมกับท่านเศรษฐีได้อย่างไร” เขาครุ่นคิดอยู่เป็นเวลานาน หาสิ่งที่จะร่วมอนุโมทนากฐินกับท่านเศรษฐีไม่ได้ ในที่สุดเขาได้เปลื้องผ้านุ่งของตนออกพับให้ดี แล้วเย็บใบไม้นุ่งแทน เอาผ้านั้นไปเร่ขายในตลาด
                        ชาวตลาดทั้งหลายเห็นอาการเช่นนั้น ก็พากันหัวเราะกันลั่น เขาชูมือขึ้นแถลงว่า "ท่านทั้งหลายหยุดก่อน อย่าหัวเราะข้าพเจ้าเลย ข้าพเจ้ายากจนไม่มีผ้าจะนุ่ง จะขอนุ่งใบไม้แต่ในชาตินี้เท่านั้น ชาติหน้าจะนุ่งผ้าทิพย์"

                        ครั้นพูดชี้แจงแก่ประชาชนชาวตลาดดังนี้แล้ว เขาได้ออกเดินเร่ขายเรื่อยไป ในที่สุด เขาได้ขายผ้านั้นในราคา ๕ มาสก (๑ บาท) แล้วนำไปมอบให้ท่านเศรษฐี เศรษฐีได้ใช้เงินนั้นซื้อด้ายสำหรับเย็บไตรจีวร ในกาลครั้งนั้นได้เกิดโกลาหลทั่วไปในหมู่ชน ตลอดถึงเทวดาในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้นฟ้า และล่วงรู้ไปถึงพระกรรณของพระเจ้าพาราณสี จึงรับสั่งให้นำนายติณบาลเข้าเฝ้า แต่เขาไม่ยอมเข้าเฝ้าเพราะละอาย จึงได้ตรัสถามความเป็นไปของเขาโดยตลอดแล้ว ทรงให้ราชบุรุษนำผ้าสาฎกราคาแสนตำลึงไปพระราชทานแก่เขา นอกจากนั้นได้พระราชทานบ้านเรือนและทรัพย์สมบัติ เป็นอันมาก แล้วโปรดให้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีในเมืองพาราณสี มีชื่อว่า ท่านติณบาลเศรษฐี เมื่อเขาดำรงชีวิตอยู่พอสมควรแก่อายุขัยแล้ว ก็ตายไปเกิดเป็นเทพบุตรในดาวดึงส์พิภพ เสวยสมบัติทิพย์อยู่ในวิมานแก้ว สูงได้ ๕ โยชน์ มีนางเทพอัปสรหนึ่งหมื่นเป็นบริวาร ส่วนเศรษฐีสิริธรรม ครั้นตายจากโลกมนุษย์แล้วได้ไปเกิดในดาวดึงส์สวรรค์ มีนางฟ้าเป็นบริวาร เช่นเดียวกันกับท่านติณบาลเศรษฐี

ผู้ชักชวนให้ทอดกฐินก็ได้อานิสงส์

                        กฐินมิได้มีอานิสงส์เฉพาะเจ้าของกฐินเท่านั้น แม้ผู้ชักชวนให้ผู้อื่นทอดกฐิน ถ้ารู้จักวิธีในการอธิษฐานบุญก็ย่อมได้รับอานิสงส์เหมือนกัน ดังในนรชีวกฐินทานชาดก[9] ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญญาสชาดก ได้เล่าเรื่องที่พระพุทธองค์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเกิดเป็นนายนรชีวะ อยู่ในครอบครัวยากจน แต่เป็นลูกกตัญญูเลี้ยงดูมารดา ได้ชักชวนเศรษฐีที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตร ชวนให้เศรษฐีมีศรัทธาถวายผ้ากฐินแก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เศรษฐีมีความยินดีได้จัดกฐินไปถวายพระภิกษุสงฆ์ จึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้าถึงผลหรืออานิสงส์แห่งการถวายผ้ากฐิน พระปทุมุตตรสัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า

เย ชนา สุขมิจฺฉนฺตา                    ทตฺวาน กฐินจีวรํ

เตปิ ทุกฺขา ปมุญฺจเร                     เทวมนุสฺเสสุ ปตฺวา

นรกาทิมฺหิ น ชายนฺติ                   กฐินทานสฺสิทํ ผลํ

แปลว่า “บุคคลเหล่าใดปรารถนาหาความสุขนั้น ได้ถวายผ้ากฐินจีวรไว้ บุคคลเหล่านั้นจะพ้นจากความทุกข์ เมื่อละโลกนี้ไปแล้ว ก็ย่อมจะถึงความสุขในหมู่เทวดาและมนุษย์ และจะไม่ไปเกิดในอบายภูมิมีนรกเป็นต้น นี้เป็นผลแห่งกฐินทาน”

                        เมื่อเศรษฐีได้ฟังอานิสงส์กฐินทานเช่นนั้น ก็มีใจชื่นบานยิ่งนัก ส่วนนายนรชีวะผู้เป็นพระโพธิสัตว์ได้หมอบกราบแทบพระบาทของพระพุทธเจ้า ได้กราบทูลถึงเหตุที่ตนเป็นผู้ชักชวนให้เศรษฐีมาทำบุญสำเร็จด้วยกายวาจาใจ จึงขอตั้งวาจาธิษฐานว่า

            อิมินา ภนฺเต ปุญฺเญน                   ปโพธิโต กฐินํ เทมิ

            อนาคเต พุทฺโธ โหมิ                   ยาว พุทฺธตํ นานุปตฺโต

            มา ทลิทฺโท ภวามหํ

แปลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยกุศลผลบุญที่ข้าพระองค์ได้ชักนำกุฎุมพี(เศรษฐี)ให้ถวายผ้ากฐินนี้ ขอให้ข้าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในกาลภายหน้า แม้ข้าพระองค์ยังไม่ไปถึงความเป็นพระพุทธเจ้าตราบใด ชื่อว่าความเข็ญใจอย่าได้มีแก่ข้าพระองค์เลย พระเจ้าข้า”

พระปทุมุตตรสัมพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ว่า ด้วยผลแห่งกฐินทานนั้น นายนรชีวะจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าศากยมุนีในอนาคตกาล ก็คือพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายในบัดนี้

ขั้นตอนทำบุญกฐิน

                        การทำบุญทอดกฐินในประเทศไทยเรา ซึ่งนิยมปฏิบัติกันอยู่ในขณะนี้  มีอยู่ ๒ ประเภท คือ 

                        ๑. กฐินหลวง หมายถึง กฐินที่มีพระราชพิธีเป็นทางการในพระอารามหลวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง ที่เรียกว่า “พระกฐินหลวง” แต่ในกรณีที่เสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐินเป็นการส่วนพระองค์ ในวัดต่างจังหวัด จะเรียกว่า “พระกฐินต้น”[10] ส่วนกฐินที่พระราชทานให้พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์กระทรวง ทบวง กรม กองต่าง ๆ ไปถวายผ้าพระกฐินแทนพระองค์ เรียกว่า “พระกฐินพระราชทาน”

                        ๒. กฐินราษฎร์ หมายถึง กฐินที่จัดขึ้นในวัดราษฎร์โดยชาวบ้านจัดการทอดกันเอง หรือบางทีก็ร่วมกันทอด ซึ่งเรียกว่า “กฐินสามัคคี”  

ในบทความนี้จะไม่กล่าวถึงกฐินประเภทที่ ๑ จะกล่าวเฉพาะกฐินประเภทที่ ๒ เท่านั้น

 

ใครควรจะถวายผ้ากฐิน

                        ทายกผู้ทอดกฐินนั้น จะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต เป็นพระภิกษุหรือสามเณร ก็เป็นเจ้าภาพถวายผ้ากฐิน หรือทอดกฐินได้ทั้งนั้น จะทอดคนเดียว หรือรวมกันหลายคนเป็น“กฐินสามัคคี”ก็ได้ มีพระพุทธานุญาตไว้

                         แต่มีข้อพึงระวัง ในกรณีที่ผู้ทอดกฐินเป็นพระภิกษุ เมื่อถวายผ้ากฐินในอุโบสถแล้ว พระสงฆ์ในวัดนั้นจะเริ่มสวดญัตติทุติยกรรมวาจา ต้องอาราธนาให้พระภิกษุที่เป็นเจ้าภาพนั้นออกไปอยู่นอกเขตสีมาก่อน หรือมิฉะนั้นก็นิมนต์ให้เข้าไปนั่งร่วมภายในหัตถบาสกับพระสงฆ์ที่จะสวดนั้น ก็เป็นอันใช้ได้ ไม่เสียพิธี

ต้องจองกฐินก่อน

                        เมื่อสาธุชนผู้มีกุศลจิตประสงค์จะนำกฐินไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่ง ซึ่งตนมีศรัทธาเป็นการเฉพาะ ต้องจองกฐินที่วัดนั้นล่วงหน้าเสียก่อน การจองมี ๒ วิธี คือ

                        ๑.จองด้วยปาก ได้แก่ แจ้งด้วยวาจาแก่เจ้าอาวาส หรือ ประกาศในที่ประชุม      สงฆ์ของวัด ให้ทราบว่า ตนจะนำกฐินมาทอดที่วัดนั้น

                        ๒.จองด้วยหนังสือ ได้แก่ เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ชื่อที่อยู่ของตนและความจำนงที่จะนำกฐินมาทอดในวันนั้นวันนี้ แล้วนำไปติดประกาศในที่เห็นได้ง่าย เช่นศาลาการเปรียญ ศาลาหน้าวัด หรือมอบให้กับเจ้าอาวาสไว้และก่อนที่จะทอดกฐินนั้นก็ควรปิดป้ายไว้หน้าวัด หรือที่ศาลาการเปรียญ ซึ่งป้ายปิดประกาศนี้ นิยมปิดไว้ตั้งแต่ในพรรษา เพื่อจะให้ผู้ที่ผ่านไปมาได้พบเห็น   แล้วจะได้มาเข้าร่วมทำบุญด้วย  

องค์กฐิน

                        เมื่อถึงเวลากำหนดก็นำผ้ากฐิน บางครั้งเรียกว่า ผ้าที่เป็นองค์กฐิน ซึ่งจะเป็นผืนเดียวก็ได้ หลายผืนก็ได้ ถ้าเป็นผ้าขาวซึ่งยังมิได้ตัด ก็ตัดออกเป็นชิ้นๆ พอที่จะเย็บประกอบเข้าเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ทำเสร็จแล้วยังมิได้ย้อมหรือย้อมแล้วก็ได้ อย่างใดอย่างหนึ่งจัดเป็นองค์กฐิน นำไปทอด ณ วัดที่ได้จองไว้นั้น แต่ในปัจจุบันเจ้าภาพนิยมซื้อผ้าไตรจีวรสำเร็จรูปมาจากร้านจำหน่ายเครื่องสังฆภัณฑ์ เนื่องจากสะดวกและประหยัดเวลา ก็เป็นอันใช้ได้เหมือนกัน

นอกจากองค์กฐินแล้ว เจ้าภาพบางรายอาจศรัทธาถวายของอื่นๆ ไปพร้อมกับองค์กฐินเรียกว่า บริวารกฐิน ตามที่นิยมกัน ประกอบด้วยปัจจัย ๔ คือ เครื่องอาศัยของพระภิกษุสามเณร มีไตรจีวร บริขารอื่นๆ ที่จำเป็น เครื่องใช้ประจำปี มีมุ้ง หมอน กลด เตียง ตั่ง โต๊ะ เก้าอี้ โอ่งน้ำ กระถาง กระทะ กระโถน เตา ภาชนะสำหรับใส่อาหารคาวหวาน เครื่องซ่อมเสนาสนะ มีมีด ขวาน สิ่ว เลื่อย ไม้กวาด จอบ เสียม เครื่องคิลานเภสัช มียารักษาโรค ยาสีฟัน แปรงสีฟัน อุปกรณ์ซักล้าง เป็นต้น หรือจะมีสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวมานี้ก็ได้ ขอให้เป็นของที่สมควรแก่พระภิกษุ สามเณร จะใช้อุปโภคบริโภคเท่านั้น หากจะมีของที่ระลึกสำหรับแจกจ่ายแก่คนที่อยู่ในวัดหรือคนที่มาร่วมงานกฐินด้วยก็ได้สุดแต่กำลังศรัทธาและอัธยาศัยไมตรีของเจ้าภาพ

นอกจากนั้นยังมีธรรมเนียมที่เจ้าภาพผู้ทอดกฐินจะต้องมี ผ้าห่มพระประธานอีกหนึ่งผืน เทียนสำหรับจุดในเวลาที่พระภิกษุสวดปาติโมกข์ ที่เรียกสั้นๆ ว่า เทียนปาติโมกข์ จำนวน ๒๔ เล่ม และมีธงผ้ารูปจระเข้ หรือสัตว์น้ำอย่างอื่น เช่น ปลา นางเงือก สำหรับปักหน้าวัด เมื่อทอดกฐินเสร็จแล้ว การปักธงนี้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าวัดนั้นๆ ได้รับกฐินแล้ว และให้อนุโมทนากฐินร่วมกัน

การถวายผ้ากฐิน

                        เมื่อเจ้าภาพมาถึงวัดที่จะทอดกฐิน ต้องกำหนดดูว่า วัดนั้นๆ จะให้ทำพิธีทอดกฐิน ณ สถานที่ใด โดยมากนิยมทำในอุโบสถ เพราะพระสงฆ์สามารถจะสวดญัตติทุติยกรรมวาจาให้เสร็จในคราวเดียวไปเลย แต่บางวัดอาจให้ทำพิธีถวายที่ศาลาการเปรียญในเบื้องต้นก่อน แล้วพระสงฆ์จะพากันไปสวดญัตติทุติยกรรมวาจาในอุโบสถในภายหลัง

                        หากเป็นสมัยโบราณ เมื่อภิกษุซึ่งจำพรรษาครบสามเดือนในวัดเดียวกัน (ต้องมีจำนวน ๕ รูปขึ้นไป) ประชุมกันในอุโบสถ พร้อมใจกันยกผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ภิกษุรูปนั้นทำกิจ ตั้งแต่ ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อมให้เสร็จในวันนั้น ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครองผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวร แล้วบอกแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ยกผ้าให้เพื่ออนุโมทนา และภิกษุนั้นอนุโมทนาแล้ว ที่เรียกว่า กรานกฐิน ก็เป็นการสำเร็จประโยชน์

                        แต่ถ้าผ้ากฐินเป็นจีวรสำเร็จรูป กิจที่จะต้อง ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม ก็ไม่มี ให้ภิกษุรูปนั้นทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครองผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวร แล้วบอกแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ยกผ้าให้เพื่ออนุโมทนา เมื่อภิกษุสงฆ์พาอนุโมทนาแล้ว ก็เป็นการสำเร็จประโยชน์เหมือนกัน

ในปัจจุบัน เมื่อเจ้าภาพได้ตระเตรียมพร้อมแล้ว พระสงฆ์พร้อมแล้ว ก่อนถวายกฐิน ให้อาราธนาศีล รับศีล เมื่อรับแล้ว ทายกประกาศให้รู้พร้อมกัน ประธานผู้ทอดกฐินหันหน้าไปทางพระพุทธรูป ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์กล่าวถวายเป็นภาษาบาลี ภาษาไทย หรือทั้งสองภาษาก็ได้ ว่าคนเดียวหรือว่านำแล้วคนทั้งหลายว่าตามพร้อมกันก็ได้ การกล่าวคำถวายจะกล่าวเป็นคำๆ หรือจะกล่าวรวมกันเป็นวรรคๆ แล้วแต่ความสะดวกของผู้กล่าวนำและผู้กล่าวตาม คำถวายมีดังนี้

                         “อิมัง  ภันเต  สะปะริวารัง  กะฐินะทุสสัง  สังฆัสสะ  โอโณชะยามะ  สาธุ  โน  ภันเต สังโฆ   อิมัง  สะปะริวารัง  กะฐินะทุสสัง  ปะฏิคคัณหาตุ   ปะฏิคคะเหตตะวา  จะ  อิมินา  ทุสเสนะ   กะฐินัง  อัตถะระตุ  อัมหากัง   ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ” 

                        แปลว่า  “ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ    ข้าพเจ้าทั้งหลาย   ขอน้อมถวาย   ซึ่งผ้ากฐินกับทั้งผ้าบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งผ้ากฐินกับทั้งผ้าบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ ฯ”     

                        เมื่อจบคำถวายแล้ว พระสงฆ์รับสาธุพร้อมกัน องค์กฐินพร้อมทั้งบริวารนั้น ถ้าเจ้าภาพปรารถนาถวายเป็นของสงฆ์ทั้งหมดก็ไม่ต้องประเคน แต่ถ้าจะประเคน ก็อย่าประเคนแก่สมภาร หรือองค์ที่รู้ว่าจะต้องครอง ให้ประเคนองค์อื่น องค์ที่เหมาะสมก็คือองค์รองลงมา เฉพาะองค์กฐินนั้นไม่จำเป็นต้องประเคน จากนั้นประธานผู้ทอดกฐินกลับเข้าประจำที่นั่งของตน

ขั้นตอนจากนี้พระสงฆ์จะทำพิธีอปโลกน์ คือ การแจ้งให้ทราบ หรือ การขอความเห็นชอบ มีลำดับขั้นตอนดังนี้

พระรูปที่ ๑ จะกล่าวว่า

                        “ผ้ากฐินทานกับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ เป็นของ ....(ระบุชื่อเจ้าภาพ)...พร้อมด้วยญาติมิตรและสัมพันธชน ผู้ประกอบด้วยศรัทธา อุตสาหะพร้อมเพรียงกันนำมาถวาย แด่พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสในอาวาสนี้

                        ก็แลผ้ากฐินทานนี้ เป็นของบริสุทธิ์ ดุจเลื่อนลอยมาโดยนภากาศแล้ว แลตกลงในที่ประชุมสงฆ์ จะได้จำเพาะเจาจงลงว่าเป็นของพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็หามิได้ มีพระบรมพุทธานุญาตไว้ว่า ให้พระสงฆ์ทั้งปวงยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง เพื่อจะทำซึ่งกฐินนัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาต  และมีคำพระอรรถกถาจารย์    ผู้รู้พระบรมพุทธาธิบายสังวรรณนาไว้ว่า ภิกษุรูปใดประกอบด้วยศีลสุตาธิคุณ มีสติปัญญาสามารถ รู้ธรรม ๘ ประการ มีบุพพกิจ เป็นต้น ภิกษุรูปนั้นจึงสมควร เพื่อจะกระทำกฐินนัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาตได้

                        บัดนี้ พระสงฆ์ทั้งปวง จะเห็นสมควรแก่ภิกษรูปใด จงพร้อมกันยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปนั้น เทอญฯ

ในลำดับนี้ พระสงฆ์ทั้งหมดนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง พระรูปที่ ๒ จะกล่าวต่อไปว่า

                        “ผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นสมควรแก่...(ระบุชื่อผู้ที่จะเป็นองค์ครองกฐิน)...เป็นผู้มีสติปัญญาสามารถ เพื่อกระทำกฐินัตถารกิจให้ถูกต้องตามพระบรมพุทธานุญาตได้ ถ้าพระภิกษุรูปใดเห็นไม่สมควร จงทักท้วงขึ้นในท่ามกลางระหว่างสงฆ์ (หยุดนิดหนึ่ง) ถ้าเห็นสมควรแล้วไซร้ จงให้สัททสัญญาสาธุการขึ้นให้พร้อมกัน เทอญฯ”

                        พระสงฆ์ทั้งหมดรับว่า สาธุ พร้อมกัน

                        เมื่อพระสงฆ์ทำพิธีเบื้องต้นของท่านเสร็จ ในตอนนี้เจ้าภาพจะประเคนบริวารกฐินก็ได้ จากนั้นพระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพทั้งหมดตั้งใจฟังคำอนุโมทนา และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
                        เพียงเท่านั้นก็เสร็จพิธีถวายกฐินสำหรับทายกผู้มีศรัทธา ต่อจากนั้นเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์จะได้ดำเนินการในเรื่องกรานกฐินต่อไป

                        ประเพณีการทอดกฐินนี้ ยังมีอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งเราเรียกว่า “จุลกฐิน” และได้นิยมกันมาแต่โบราณกาล ถือกันว่า ถ้าผู้ใดมีความสามารถทอด “จุลกฐิน” นี้ได้ จะเป็นผู้ได้รับอานิสงส์มาก วิธีทอด “จุลกฐิน” นี้ ต้องทำอย่างนี้ คือ ต้องไปเก็บเอาฝ้ายมาปั่นเป็นด้ายแล้วทอให้เป็นผืนผ้ากฐินให้เสร็จในวันเดียว แต่การทอด “จุลกฐิน” นี้ ต้องช่วยหลายคนจึงจะเสร็จในวันเดียวได้ จะต้องให้ทันกับเวลาอีกด้วย คือต้องช่วยกันหลายๆ แรงแบ่งหน้าที่กันทำอย่างชุลมุนวุ่นวาย เมื่อทำเสร็จพอที่จะทำเป็นผ้ากฐินได้ ก็รีบนำไปทอด คงจะเป็นเพราะเหตุนี้เอง จึงได้เรียกว่า “จุลกฐิน” คือเป็นผ้าที่สำเร็จขึ้นได้ด้วยการช่วยเหลือกันคนละไม้คนละมือ เช่น เมื่อเก็บฝ้ายแล้วก็เอาฝ้ายนั้นมาปั่น มากรอ มาสาง เมื่อเสร็จเป็นเส้นด้ายแล้ว ก็เอามาทอเป็นผ้า แล้วเอามาตัด มาเย็บ มาย้อม ให้เสร็จเรียบร้อยวันเดียวกันนั้น ทุกสิ่งทุกอย่าง

กฐินตกค้าง

                        กฐินประเภทนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กฐินตก กฐินโจร ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวถึงเหตุผลที่เกิดกฐินชนิดนี้ ตลอดจนชื่อเรียกที่ต่างกันออกไปว่า (จากเรื่องเทศกาลออกพรรษา)

                        “แต่ที่ทำกันเช่นนี้ ทำกันอยู่ในท้องถิ่นที่มีวัดตกค้างไม่มีใครทอดก็ได้ จึงมักมีผู้ศรัทธาไปสืบเสาะหาวัดอย่างนี้เพื่อทอดกฐินตามปกติในวันใกล้ๆ จะสิ้นหน้าทอดกฐินหรือในวันสุดท้ายของกาลกฐิน (คือวันก่อนวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒) การทอดกฐินอย่างนี้เรียกว่า กฐินตกค้าง หรือเรียกว่า กฐินตก บางถิ่นก็เรียก กฐินโจร เพราะกิริยาอาการที่ไปทอดอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว จู่ๆ ก็ไปทอด ไม่บอกกล่าวเล่าสิบล่วงหน้าให้วัดรู้ เพื่อเตรียมตัวกันได้พร้อมและเรียบร้อย การทอดกฐินตกถือว่าได้บุญอานิสงส์แรงกว่าทอดกฐินตามธรรมดา บางคนเตรียมข้าวของไปทอดกฐินหลายๆ วัด แต่ได้ทอดน้อยวัด เครื่องไทยธรรมที่ตระเตรียมเอาไปทอดยังมีเหลืออยู่ หรือบางวัดทอดไม่ได้ (อาจเป็นที่ไม่ครบองค์สงฆ์) ก็เอาเครื่องไทยธรรมเหล่านั้นจัดทำเป็นผ้าป่า เรียกกันว่า ผ้าป่าแถมกฐิน”

                        กฐินประเภทนี้ เรื่ององค์กฐิน บริวารกฐิน ยังคงเป็นเช่นเดียวกับกฐินอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้ว ส่วนข้อแตกต่างที่ชัดเจนคือ ไม่มีการจองวัดล่วงหน้า การทอดก็ทอดได้เฉพาะวัดที่ยังไม่มีใครทอด และเจ้าภาพเดียวอาจจะทอดหลายวัดก็ได้ ตลอดจนสามารถนำเอาของไทยธรรมที่เหลือทำเป็นการบุญชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ผ้าป่าแถมกฐิน หรือบางท่านเรียกว่า “ผ้าป่าหางกฐิน” นั่นเอง

ปริศนาธรรม

            ในประเพณีทอดกฐิน บรรพบุรุษไทยได้แฝงภูมิปัญญาและปริศนาธรรมไว้กับธงรูปจระเข้และธงรูปนางมัจฉา ที่มองเห็นกันดาษดื่นในเทศกาลกฐิน เบื้องหลังธง ๒ ผืนนี้ มีวิสัชนา ๓ นัย คือ

                        ๑.     วิสัชนาตามแนวนิทานพื้นบ้าน

                        ๒.     วิสัชนาตามแนวหลักธรรม

                        ๓.     วิสัชนาตามแนวภูมิปัญญาไทย

                        ตามแนวแรก มีนิทานพื้นบ้านที่เล่าต่อๆ กันมาว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่ง เป็นคนตระหนี่อย่างเหนียวแน่น ไม่เคยทำบุญกุศลใดเมื่อเวลาที่มีชีวิตอยู่เลย มุ่งแต่เก็บสะสมทรัพย์สินเงินทองซ่อนไว้ มิให้ใครรู้ สถานที่ซ่อนทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ที่หัวสะพานท่าน้ำหน้าบ้านตน ครั้นต่อมาเศรษฐีได้สิ้นชีวิตลง ขณะที่จิตใจเป็นห่วงถึงทรัพย์ที่ซ่อนไว้ ทำให้ไปเกิดเป็นจระเข้เฝ้าสมบัติ จระเข้อดีตเศรษฐีระลึกชาติเก่าของตนได้ รู้สึกทรมานกับชีวิตที่ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ได้ไปเข้าฝันภรรยาและลูกให้ไปขุดสมบัติเอาไปทำบุญ ภรรยาและลูกได้ไปขุดสมบัติจัดเป็นองค์กฐินเพื่อจะนำไปถวายวัดในฤดูทอดกฐิน ฝ่ายจระเข้อดีตเศรษฐีก็ดีใจ ว่ายน้ำตามขบวนเรือแห่กฐิน แต่เนื่องจากวัดอยู่ไกล จระเข้หมดแรงว่ายน้ำต่อไปไม่ไหว ภรรยาและลูกจึงให้ช่างวาดรูปจระเข้ใส่ธงไปแทน เมื่อทอดกฐินเสร็จ ภรรยาก็อุทิศส่วนกุศลให้ว่า บัดนี้เศรษฐีผู้ล่วงลับได้เอาทรัพย์มาทอดกฐินถวายพระแล้ว ขณะนั้นจระเข้ก็จะโผล่หัวขึ้นมาจากน้ำ พอทอดกฐินเสร็จ พระอนุโมทนาให้พรจบ จระเข้นั้นก็มุดน้ำหายไปเลย ทุกวันนี้ก็เลยมีธรรมเนียมอันนั้นขึ้นมา จระเข้คาบดอกบัวได้กลายเป็นสัญลักษณ์ในการทอดกฐิน ส่วนรูปนางสุวรรณมัจฉา พบแต่เพียงเล่าว่า ใช้ประดับเพื่อนำทางเบิกทางในทางน้ำ และเรียกผู้คนให้มาร่วมงานกัน

                        ตามแนวที่สอง มีผู้อธิบายโดยอิงหลักธรรมว่า เป็นปริศนาจากธรรมของพระพุทธเจ้าที่ท่านกล่าวถึงภัยของภิกษุใหม่ โดยยกอุปมากับสิ่ง ๔ ชนิด คือ
                        ๑. วังวน
 วังวน คือ กามคุณ ๕ ความยินดีในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส

                        ๒. คลื่นลม  คลื่นลม คือ คำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ ถ้าทนคำสั่งสอนไม่ได้ก็เหมือนกับเรือที่ล่มลงกลางทะเลวัฏสงสาร

                        ๓. จระเข้ จระเข้ คือ ความเห็นแก่กิน เห็นแก่นอน ไม่ปฏิบัติธรรม

                        ๔. ปลาร้าย  ปลาร้าย หมายถึง เพศตรงข้าม ที่จะมาเอาไปกินเสียก่อนที่จะบรรลุมรรคผล เขาก็เลยสร้างรูป ที่จะทำให้ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถตั้งอยู่ในพรหมจรรย์ได้ ได้แก่ รูปนางมัจฉาขึ้น

                        นางมัจฉาเป็นตัวแทนของปลาร้าย ในขณะเดียวกันบางทีก็มีรูปคลื่นอยู่ข้างล่าง บางทีก็มีน้ำวนอยู่ด้วย เมื่อรวม ๆ กันแล้วให้มันตรงกับภัยของภิกษุใหม่ หากพูดกันตามความเป็นจริง ภัย ๔ อย่างนี้ ไม่ว่าพระใหม่หรือพระเก่าเจอเข้าก็เดี้ยงเหมือนกัน สำคัญตรงที่ว่ามีสติสัมปชัญญะที่จะต่อสู้สักแค่ไหน

                        หากกล่าวถึงตามแนวภูมิปัญญาไทย อาจกล่าวได้ว่า ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาวช่วยประกอบ เหมือนเช่นการยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้ เพราะดาวจระเข้นี้ขึ้นในตอนจวนจะสว่าง การทอดกฐินมีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขึ้น ก็เคลื่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้นก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงามทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัด และภายหลังคงหวังจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยการกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าวัดนั้นวัดนี้ทอดกฐินแล้ว ผู้ที่ประสงค์จะทอดกฐินตกค้างจะได้ไปหาวัดอื่นๆ

                        แต่ว่าพอมารุ่นหลังเนื้อหามันเปลี่ยน เรื่องของธงกฐินตอนแรกเกิดจากเรื่องเศรษฐีตระหนี่ พอตอนหลังเนื้อหามันเปลี่ยนไป คนตีความไปอีกอย่าง ก็เลยมีธงนางมัจฉาเพิ่ม

มาระยะหลัง ๆ นี้ ก็มีครูบาอาจารย์เอาธงมาลงอักขระ เลขยันต์คาถาอาคม เอาไว้สำหรับการค้าขาย เพราะฉะนั้นสมัยหลัง ๆ ธงกฐินไม่ค่อยได้อยู่ติดวัดแล้ว พอทอดกฐินเสร็จชาวบ้านก็ล้มเสาที่ประดับธง เอาธงไปให้หลวงปู่หลวงพ่อท่านเจิม เจิมเสร็จก็เอาไปติดบ้านเป็นสิริมงคล ให้ค้าขายดี เป็นอนุสรณ์ไว้ตรึกระลึกนึกถึงบุญกฐินที่ได้ไปบำเพ็ญมา

ธงกฐิน
            ในเรื่องของการทอดกฐินนี้ “ธงกฐิน” ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงให้รู้ว่าวัดนี้ได้รับผ้ากฐินแล้ว โดยเหตุที่ว่าวัดหนึ่งๆ นั้นรับกฐินได้เพียงครั้งเดียว อีกในหนึ่ง ธงกฐินจะมีรูปสัตว์ 3-4 จำพวกเป็นสัญลักษณ์ คือ รูปจระเข้ รูปตะขาบ รูปแมลงป่อง รูปนางกินรีหรือนางมัจฉา และรูปเต่า
            เรื่องธงกฐินนี้โดยใจความแล้วไม่มีปรากฏในพระไตรปิฎกหรือในหนังสือคัมภีร์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องของกฐินอย่างชัดเจน สาเหตุอาจจะเป็นเพราะนักปราชญ์อีสานโบราณท่านสอนคนหรือแนะนำคน จะไม่ใช้วิธีการที่บอกหรือกล่าวสอนกันตรงๆ มักจะใช้ทำนองที่ว่าเรียบๆ เคียงๆ เป็นลักษณะของปริศนาธรรม เช่น ลักษณะที่เด่นและเห็นชัดเจนคือ การใช้คำพูดในบทผญาหรือ อีสานภาษิต ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงเรื่องกำลังพูดกันตรงๆ
            เช่นว่า “เจ้าผู้แพรผืนกว้างปูมาให้มันเลื่อมแด่เป็นหยัง สังมาอ่อมส่อมแพงไว้แต่ผู้เดียว แท้น้อ” ซึ่งสำนวนนี้ก็ได้พูดถึงความใจกว้างหรือความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
            สำหรับรูปสัตว์ต่างๆ ธงกฐินนี้ท่านบอกสอนไว้ให้รู้ในลักษณะที่ว่า คนที่สามารถทำกฐินหรือเจ้าภาพทอดกฐินได้ ต้องเป็นคนจิตใจกว้าง มีความเสียสละเป็นอันมาก รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แม้กระทั่งสัตว์ที่มีพิษร้ายก็สามารถมาร่วมทำบุญได้ หรืออีกความหมายหนึ่งนักปราชญ์อีสานโบราณ ท่านอธิบายเปรียบเทียบกับโลภะ โทสะ โมหะ ได้ชัดเจนว่า
            ธงกฐินอันที่ 1 เป็นรูปจระเข้คาบดอกบัว หมายถึง ความโลภ โดยปกติแล้วจรเข้เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ในบางช่วงขึ้นมานอนอ้าปากอยู่บนบกให้แมลงวันเข้ามาตอมอยู่ในปาก พอแมลงวันเข้าไปรวมกันหลายๆ ตัวเข้า จึงได้งับปากเอาแมลงเป็นอาหาร ท่านได้เปรียบถึงคนเราที่มีความโลภ ไม่มีความรู้สึกสำนึกชั่วดี ความถูกต้องหรือไม่ มีแต่จะเอาให้ได้ท่าเดียว โดยไม่คำนึงว่าที่ได้มานั้น มีความสกปรกแปดเปื้อนด้วยความไม่ดีไม่งาม คืออกุศลหรือไม่ ผู้อื่นจะได้รับผลอย่างไรจากการกระทำของตนไม่ได้ใส่ใจ ดังนั้น ธงรูปจระเข้ท่านจึงได้เปรียบเหมือนกับความโลภ ที่ทำให้คนกอบโกยทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่จะมีช่องทางหรือโอกาส
            ธงกฐินอันที่ 2 เป็นรูปตะขาบหรือแมลงป่องคาบดอกบัว หมายถึง ความโกรธ โดยธรรมชาติแล้วสัตว์ทั้งสองอย่างนี้เป็นสัตว์ที่มีพิษร้าย ถ้าใครโดนตะขาบและแมลงป่องกัดหรือต่อยเข้าแล้ว จะรู้สึกเจ็บปวด แต่ความเจ็บปวดเหล่านั้นมียาหรือของที่แก้ให้หาย หรือบรรเทาปวดได้ ท่านได้เปรียบถึงโทสะ เพราะโทสะนี้เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นง่าย เกิดขึ้นเร็ว และรุนแรง แต่ก็หายเร็ว หรือที่เรียกว่าโกรธง่ายหายเร็ว โทสะหรือความโกรธมีความเจ็บปวด มีความเสียหายเป็นผล ดังนั้น ท่านจึงเปรียบธงรูปตะขาบและธงรูปแมงป่อง ว่าเหมือนกับความโกรธ เพราะมีลักษณะคล้ายกันคือเกิดขึ้นง่าย เกิดขึ้นเร็ว และรุนแรง มีความเจ็บปวด มีความเสียหาย แต่หายเร็วหรือมีทางที่จะรักษาให้หายได้
            ธงกฐินอันที่ 3 เป็นรูปนางกินรีหรือนางมัจฉาถือดอกบัว หมายถึง ความหลงหรือโมหะ โดยที่รูปร่างและศัพท์ที่ใช้เรียกก็มีความชัดเจนอยู่แล้ว กินรี แปลว่า คนอะไรหรือสัตว์อะไร ดูไม่ออกบอกไม่ถูกว่าเป็นรูปสัตว์หรือรูปคนกันแน่ เพราะว่าท่อนล่างมีรูปเป็นปลา ท่อนบนมีรูปร่างเป็นคน ศัพท์ว่ากินรีมาจากภาษาบาลีว่า “กินนรี” แต่ผ่านกระบวนการแปลงศัพท์ของภาษาบาลีเป็น “กินนรี” แปลว่า “คนอะไร” หรือว่า คนผู้สงสัย, ผู้ยังสงสัย หรือผู้ที่ค้นพบเห็นก็เกิดความสงสัย คือคนที่ไม่เป็นตัวของตัวเองนั่นเอง ทั้งทางด้านความคิด ทั้งทางด้านการกระทำหรือพฤติกรรม เพราะฉะนั้น กินนรี หรือ กินรี ท่านจึงเปรียบเสมือนโมหะ คือความหลงหรือผู้หลง ความลังเลสงสัยนั่นเอง
            ธงกฐินอันที่ 4 เป็นรูปเต่าคาบดอกบัว หมายถึง ศีลหรืออินทรีย์สังวร (การสำรวมระวังอินทรีย์) โดยปกติสัญชาติญาณการหลบภัยของเต่าคือ การหดส่วนต่างๆ ของร่างกายเข้าไว้ในกระดอง อันตรายที่จะเกิดจากสัตว์ไม่ว่าจะมีรูปร่างใหญ่โตสักปานใด ก็ไม่สามารถที่จะทำอันตรายอะไรแก่เต่าได้ หรือสังเกตง่ายๆ เวลาหมาเห่าเต่าก็จะเก็บอวัยวะส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหัว หางและขาไว้ภายในกระดอง หมาไม่สามารถทำอันตรายใดๆ แก่เต่าได้
            ฉะนั้น บุคคลที่สามารถทำบุญกฐินให้ได้บุญจริงๆ ต้องเป็นผู้ที่มีศีลคือมีความสำรวมระวัง ไม่ให้อกุศลเกิดขึ้นจากการที่อินทรีย์ทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบสิ่งที่เป็นสาเหตุแห่งอารมณ์ขัดเคืองหรือความไม่ได้ดั่งใจตนคิด อันทำให้เกิดความท้อถอย ทั้งนี้ โดยการอาศัยศีลคือความมั่นคงในตัวเองนั่นเอง

๏ ทำไมจึงใช้ธงจระเข้ในงานบุญทอดกฐิน
            ธงจระเข้
ปัญหาที่ว่าเพราะเหตุไรจึงมีธงจระเข้ยกขึ้นในวัดที่ทอดกฐินแล้ว ยังไม่ปรากฏหลักฐานและข้อวิจารณ์อันสมบูรณ์โดยมิต้องสงสัย เท่าที่รู้กันมี 3 มติ คือ
            (1) ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาวช่วยประกอบ เหมือนเช่นการยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้นี้ เพราะดาวจระเข้นี้ขึ้นในตอนจวนจะสว่าง การทอดกฐินมีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขี้น ก็เคลื่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้นก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงามทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัด และภายหลังคงหวังจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยการกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว
            (2) มติที่สอง เล่าเป็นนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินในทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญจึงอุตส่าห์ว่ายตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดกำลัง ว่ายตามต่อไปอีกไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองการกุศล วานท่านเมตตาช่วยเขียนรูปข้าพเจ้า เพื่อเป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้นจึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็นปฐม และสืบเนื่องมาจนบัดนี้
            (3) อีกมติหนึ่งเป็นเรื่องเก่าแก่ตั้งแต่โบราณ เรื่องปู่โสมเฝ้าทรัพย์ ในอดีตกาลท่านกล่าวถึงเศรษฐีคนที่มีเงิน ขี้ตระหนี่ มัจฉริยะ ความตระหนี่ ตอนที่มีชีวิตอยู่หาแต่เงิน เก็บแต่เงินไว้ ไม่ไปทำบุญให้ทาน ไม่ตักบาตร ไม่ถวายสร้างกุฏิ วิหาร ไม่ถวายสร้างโบสถ์ ไม่ถวายสร้างสะพาน ไม่ช่วยทำทางเข้าวัด เหล่านี้เป็นต้น คนขี้ตระหนี่ไม่ทำบุญ เมื่อไม่ทำบุญ สมัยก่อนเขาเอาเงินใส่ไหใส่ตุ่มไปฝังไว้ที่ริมฝั่งน้ำ ทีนี้เมื่อตายไป ก็ด้วยความห่วงสมบัติ เมื่อห่วงสมบัติก็ตายไปเป็นจระเข้เฝ้าสมบัติอยู่แถวนั้นบ้าง
            ทีนี้นานเข้า ก็เลยมาเข้าฝันญาติบอกว่า เงินอยู่ตรงนั้นให้ไปขุดเอา แล้วนำเงินไปทอดกฐินให้หน่อย ทำบุญอะไรก็ได้ ทอดกฐินก็ได้ ผ้าป่าก็ได้ ญาตินั้นก็รู้ ก็ไปเอาเงินนั้นไปทอดกฐิน ทีนี้เมื่อทอดกฐิน สมัยก่อนเขาก็นั่งเรือ จระเข้ตัวนั้นก็ว่ายตามเรือไป ตามกองกฐินเขาไป เมื่อทอดกฐินเสร็จ เขาก็อุทิศส่วนกุศลให้บอกว่า นายนี้ที่ล่วงลับไป บัดนี้เอาเงินมาทอดกฐินถวายพระแล้ว ตอนนั้นจระเข้ก็จะโผล่หัวขึ้นมานะเหมือนอย่างในฟาร์ม พอทอดกฐินจบ พระอนุโมทนาให้พรจบ จระเข้นั้นก็มุดน้ำหายไปเลย ทุกวันนี้ก็เลยมีธรรมเนียมอันนั้นขึ้นมา จระเข้คาบดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ในการทอดกฐิน ตะขาบนี้ก็เหมือนกัน เมื่อตายไปก็ไปเป็นตะขาบ ไปเฝ้าสมบัติเหมือนกัน

ปริศนาธรรมธงกฐิน

            ๏ ปริศนาธรรมธงกฐินยินคำเล่า
จระเข้มัวเมาในสงสาร
นางเงือกเขียนผูกไว้ในตำนาน
เชิญตามกองกฐินทานแห่งานบุญ

            กองกฐินเทศกาลวารน้ำหลาก
ภัยก็มีล้นมากกรากเกลียวขุ่น
สังเขปเตือนตนไว้ให้เห็นคุณ
กรรมที่เวียนวนหมุนหนุนโลกา

อูมิภยํ
            ภัยจากคลื่นซัดฝั่งประดังว่า
คือความเบื่อเหลือทนบ่นธรรมา
เหนื่อยจะฟังเทศนาเจียนบ้าตาย

ไม่เห็นดีเป็นดีที่ควรทำ
            คลื่นกระแทกเรือคว่ำจมฉิบหาย
นาวาหลงวงวัฏซัดทะลาย
เพราะความหน่ายเพียรธรรมเลิกบำเพ็ญ

กุมภีลภยํ
            ภัยจากจระเข้คลั่งกำลังเห็น
คือความโลภโอบกินหมิ่นลำเค็ญ
เฝ้าแต่เห็นปากท้องของตัวนี้

            เพราะหวงหนี้ตระหนี่ทานบันดาลเกิด
จระเข้กำเนิดจากเศรษฐี
อธิษฐานขอหนุนบุญนารี
ตามองค์กฐินมีมาในตราธง

อาวัฏฏภยํ
            ภัยจากน้ำวนรั้งให้ลุ่มหลง
คือความยึดสะสมชมพะวง
ในทรัพย์สินทรวดทรงบรรจงทำ

            ดึงดูดให้ติดตาต้องใจอยู่
วนลงสู่วังวารีที่เบื้องต่ำ
นาวาลอยค่อยข้ามทะเลกรรม
ก็แหลกลงหลงลำเพราะน้ำวน

สุสุกาภยํ
            ภัยจากนางเงือกสั่งให้เหหน
คือความลุ่มหลงรูปราคะคน
ปรารถนารสล้นแห่งกลกาม

            เป็นธงเงือกจระเข้คลื่นน้ำวน
สัญลักษณ์เตือนคนที่ฝ่าข้าม
ทะเลคลั่งสังสารต่อต้านตาม
พึงพิจารณาความสอบถามตัว

            เป็นธงกฐินริ้วปลิวตามลม
ประกอบทานอันอุดมมิใช่ชั่ว
ใช่กองเงินอวดอ้างข้างพันพัว
เพื่อยกตนกดหัวผู้อื่นไป

            ออกพรรษาเทศกาลกรานกฐิน
ทุกย่านถิ่นสนทนาต่างปราศรัย
ทั้งบุญกรรมธรรมทานประเทศไทย
ก็อยู่ในกฐินนี้ที่หมายมา

ข้อจำกัดของบุญกฐิน

                        บุญกฐินมีความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่นตรงที่มีข้อจำกัดมาก พอสรุปได้ ๗ ประการ คือ

          ๑. จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้

          ๒. จำกัดเวลา คือ ต้องถวายภายในระยะเวลา ๑ เดือน นับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป

          ๓. จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน

          ๔. จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่สงฆ์กำหนดไว้

          ๕. จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และจำนวนไม่น้อยกว่า ๕ รูป

          ๖. จำกัดคราว คือ วัด ๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ ๑ ครั้งเท่านั้น

          ๗. จำกัดสถานที่ คือ เมื่อเวลาพระสงฆ์จะสวดญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าด้วยเรื่องกฐิน จะต้องทำในเขตสีมาเท่านั้น

                        ด้วยเหตุจำกัดทั้งหมดนี้ บุญกฐิน จึงมีอานิสงส์มาก

 

เพิ่มคอมเมนต์ใหม่

ข้อความใหม่

รหัสป้องกันความปลอดภัย
รีเฟรช

xnxxbroxnxxyo nayphimsex